วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

หน่วยที่ 1


หน่วยการเรียนรู้ที่  1
ชื่อหน่วย   What do you like to do?
รายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน  (อ22101)        กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
เรื่องหลัก/หัวเรื่อง            Hobbies and Interests                                              เวลา 10 ชั่วโมง
 

สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
      หน่วยการเรียนรู้นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารเรื่องงานอดิเรกและกิจกรรมที่ตนเองและผู้อื่นสนใจทำ ซึ่งนักเรียนจำเป็นต้องใช้เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้อื่นในชีวิตประจำวัน ดังนั้นนักเรียนจึงต้องฟังบทสนทนาเกี่ยวกับงานอดิเรกและกิจกรรมที่บุคคลในบทสนทนาสนใจทำ พูดขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับกีฬาที่สนใจเล่น ความถี่ของการทำงานอดิเรก กราฟข้อมูลกิจกรรมที่สนใจทำเป็นงานอดิเรก อ่านบทความเกี่ยวกับศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว เขียนอีเมลบรรยายงานอดิเรกและกิจกรรมที่ตนเองสนใจทำ
 
 1.    มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
      สาระที่ 1 : ภาษาเพื่อการสื่อสาร
      มาตรฐาน ต 1.1 ม.2/2, ต 1.1 ม.2/3, ต 1.1 ม.2/4, ต 1.2 ม.2/1, ต 1.2 ม.2/4
      สาระที่ 2 : ภาษาและวัฒนธรรม
      มาตรฐาน ต 2.1 ม.2/2,2.2.2/1
      สาระที่ 4 : ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก
      มาตรฐาน ต 4.1 ม.2/1
2.   ความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
      สุขศึกษาและพลศึกษา; สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม; การงานอาชีพและเทคโนโลยี
3.   ความรู้
      -  คำศัพท์
         กิจกรรม Preview
         -  comic book (n.):    a magazine, especially for children, which contains a set of stories told in pictures with a small amount of writing (หนังสือการ์ตูน)
         -  action figure (n.):   a doll which is made to look like a soldier or a character from a film or television show (หุ่นจำลองจัดท่าได้)
         กิจกรรม Communication
         -  take turn (v.):       When a number of people take turns, they do the same thing one after the other (ผลัดกัน)
         -  marker (n.):         a small round colored object that you use in a board game  (หมากเดินบนกระดานเกม)
         -  browse (v.):         to search for information on a computer or on the Internet (ค้นหาข้อมูลทางคอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ต)
         กิจกรรม Reading
         - article (n.):          a piece of writing on a particular subject in a newspaper or magazine (บทความ)
         - circle (n.):           a group of people or things arranged in the shape of a circle (การล้อมวงกลม)
         - fighter (n.):          someone who fights (นักสู้)
         - self-respect (n.):   respect for yourself which shows that you value yourself (การเคารพตัวเอง)
         กิจกรรม Comprehension
         - teenager (n.):       a young person between 13 and 19 years old (วัยรุ่น)
         - sandal (n.):          a light shoe, especially worn in warm weather, consisting of a bottom part held onto the foot by straps (รองเท้าแตะ)
         กิจกรรม Writing
         - reply (v.):           to answer someone by saying or writing something (ตอบ)
             กิจกรรม The Real World
         - e-pal (n.):           a person that you make friends with by sending emails, often somebody you have never met (เพื่อนทางอีเมล)
         - according to:       as stated or reported by somebody/something (ตามที่)
         - poll (n.):             the process of questioning people who are representative of a larger group in order to get information about the general opinion
(การสำรวจความเห็น)
      -  สำนวนภาษา
         กิจกรรม Conversation
         -  That’s OK.:          No, thanks. / I don’t want to bother you. (ไม่เป็นไรครับ/ค่ะขอบคุณ หรืออีกความหมายหนึ่งคือไม่ขอรบกวนครับ/ค่ะ) 
         กิจกรรม The Real World
         -  He has two left feet.: He can’t dance. (เขาเต้นรำไม่เป็น)
      -  ข้อมูลด้านวัฒนธรรม
         กิจกรรม Preview
         -  Martial arts
              Martial arts คือศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว ซึ่งจัดเป็นกีฬาประเภทหนึ่ง martial arts เป็นศิลปะการต่อสู้ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมของชาวเอเชียเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มี martial arts ที่มาจากวัฒนธรรมทางศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของประเทศอื่น เช่น Savate คือมวยของประเทศฝรั่งเศส Krav Maga คือวิธีการต่อสู้ป้องกันตัวของประเทศอิสราเอล และ Capoeira คือศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของประเทศบราซิลที่ผสมผสานการต่อสู้ การเต้นรำ ดนตรี กายกรรม และปรัชญาเข้าด้วยกัน
         -  Karate
             Karate อ่านว่า kah-rah-teh เป็น martial art ของประเทศญี่ปุ่น Karate หมายความว่า มือเปล่า เป็นการต่อย เตะ และฟาดด้วยมือเปล่า
         -  Action figure
             Action figure คือหุ่นจำลองจัดท่าได้ สร้างขึ้นมาจากตัวละครในบันเทิงคดี หุ่นจำลองเหล่านี้ใช้เป็นของเล่นและเป็นสิ่งสะสม คำว่า action figure กำหนดขึ้นโดยบริษัทของเล่น Hasbro ในปี ค.ศ. 1964 เพื่อใช้ในการส่งเสริมการตลาดหุ่นจำลองทหาร G.I Joe ที่จัดท่าได้ โดยทางบริษัทใช้ข้อมูลพื้นฐานจากความจริงที่ว่าโดยปกติแล้วแขนและขาของหุ่นจำลองจะต้องสามารถเคลื่อนไหวได้นั่นเอง
         กิจกรรม Do you know?
         -  ทีมวอลเล่ย์บอล
                 เมื่อปี ค.ศ. 1895 William Moran ได้คิดค้นกีฬาวอลเล่ย์บอลขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยทีมวอลเล่ย์บอลหนึ่งทีมประกอบด้วยผู้เล่นจำนวน 6 คน มีผู้เล่น 3 คนยืนอยู่ด้านหน้าและอีก 3 คนยืนอยู่ด้านหลัง มีข้อมูลว่าปัจจุบันผู้คนทั่วโลกประมาณ 800 ล้านคนเล่นกีฬาวอลเล่ย์บอลสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
         -  Taekwondo
              Taekwondo ออกเสียงว่า The-kwan-doh เป็น martial art ของประเทศเกาหลีหลายพันปีมาแล้ว    Taekwondo ผสมผสานจิตใจที่นิ่งสงบกับการเคลื่อนไหวทางร่างกายไปพร้อมกัน โดยมุ่งเน้นการมีชีวิตอยู่บนโลกอย่างกลมกลืน ทั้งนี้มีความเชื่อกันว่าผู้คนทั่วโลกฝึก Taekwando มากกว่าศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวประเภทอื่น ๆ
        

กิจกรรม Reading
         -  Capoeira
                 Capoeira อ่านออกเสียงว่า kah-poh-air-rah คือศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวทาง Afro-Brazilian เป็นการผสมผสานศิลปะการป้องกันตัว ดนตรี และการเต้นรำเข้าด้วยกัน ต้นกำเนิดและจุดประสงค์ที่
แน่ชัดของการสืบทอดลีลาท่าทาง  ศิลปะการป้องกันตัว และดนตรีของคาโปเอร่ายังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ รายงานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับคาโปเอร่าจำนวนมากระบุว่าศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวนี้ได้รับการพัฒนามาจากพวกทาสทวีปแอฟริกาในช่วงหลังศตวรรษที่ 16 ซึ่งใช้เป็นหนึ่งในวิธีการถ่ายทอดวัฒนธรรมและทักษะการต่อสู้ของคนแอฟริกันอย่างลับ ๆ  การฝึกซ้อมนี้เคยเป็นสิ่งต้องห้าม อย่างไรก็ตามผู้คนในประเทศบราซิลฝึกซ้อมคาโปเอร่าและพัฒนารูปแบบเรื่อยมาดังที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน
         -        Street children
             Street children เป็นคำใช้เรียกบรรดาเด็กที่อาศัยหรือทำงานตามท้องถนน เด็กเหล่านี้ซึ่งโดยปกติแล้วไม่มีครอบครัว หรือขาดความสัมพันธ์กับครอบครัว มักอาศัยอยู่ตามท้องถนน บางคนนอนในกล่องกระดาษใต้สะพาน ในสวนสาธารณะ ในตึกร้าง หรือในเพิงชั่วคราว
         -  Salvador
             Salvador มีชื่อเป็นทางการว่า Sao Salvador da Baia de Todos os Santos เมืองนี้เป็นศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 จนถึงศตวรรษที่ 19 ทำให้ Salvador เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว อย่างไรก็ตามเชื่อกันว่ามีเด็กยากจนมากกว่า 16,000 คน ที่อาศัยอยู่ตามท้องถนนของ Salvador เด็กหลายคนก่ออาชญากรรมและถูกฆ่าตายอย่างน้อยปีละ 100 คน องค์กร the Axe Project จึงเข้ามาช่วยเหลือเด็กข้างถนนเหล่านี้รวมทั้งครอบครัวของพวกเขา
         -  The Axe Project  
             องค์กร the Axe Project ในประเทศบราซิล ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1990 องค์กรนี้ไม่ใช่องค์กรของรัฐ มีหน้าที่ช่วยเหลือเด็กและวัยรุ่นที่มีฐานะยากจน โดยจัดการศึกษาให้แก่เด็กที่อาศัยอยู่ตามท้องถนนในเมือง Salvador อีกทั้งจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์และกิจกรรมทางวัฒนธรรม เช่น กิจกรรมการฝึกศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวคาโปเอร่า (Capoeira) ซึ่งเด็กเหล่านี้สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ การรู้จักตนเองและการนับถือตนเอง
         กิจกรรม The Real World
         -  ข้อควรระวังในการใช้ “He has two left feet.”
             การพูดถึงบุคคลหนึ่งว่า “He has two left feet.” เปรียบเสมือนกับการพูดว่าบุคคลนั้นเป็นคนงุ่มง่าม และเซ่อซ่า การพูดลักษณะเช่นนี้สามารถเป็นการพูดที่ดูถูกบุคคลนั้นได้ ดังนั้นการจะนำสำนวนนี้ไปใช้จึงควรนำไปใช้อย่างระมัดระวัง
      -  หน้าที่ภาษา
         - Talking about schedules and activities
         - Talking about frequency
         - Changing the subject
      -  โครงสร้างประโยค/ไวยากรณ์
         - like to + verb
         - Wh-question: How often
         - Simple Present Tense
4.   ทักษะ/กระบวนการ
      -  ทักษะเฉพาะวิชา
         การฟัง : การฟังเพื่อหารายละเอียด
         การพูด : การพูดเพื่อขอและให้ข้อมูล
         การอ่าน : การอ่านออกเสียง การอ่านเพื่อหารายละเอียด
         การเขียน : การเขียนบรรยาย
      -  ทักษะคร่อมวิชา
         การสื่อสาร กระบวนการกลุ่ม
5.   สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
      ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การใช้เทคโนโลยี
6.   คุณลักษณะอันพึงประสงค์
      รู้จัก เข้าใจ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน และภูมิใจในตนเอง : บอกชื่องานอดิเรกหรือกิจกรรมที่ตนเองสนใจทำได้
7.   ความเข้าใจที่ยั่งยืน
      นักเรียนเข้าใจว่าการสื่อสารข้อมูลเรื่องงานอดิเรกและกิจกรรมที่สนใจทำในเวลาปัจจุบันต้องใช้โครงสร้างประโยค Simple Present Tense
8.   สิ่งที่นักเรียนเรียนรู้และปฏิบัติได้
      1. ระบุรายละเอียดในบทสนทนาที่ฟังเกี่ยวกับงานอดิเรกและกิจกรรมที่บุคคลในบทสนทนาสนใจทำได้
(ต 1.1 ม.2/4)
      2. พูดขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับกีฬาที่สนใจเล่นได้ (ต 1.2 ม.2/1, ต 4.1 ม.2/1)
      3. อ่านออกเสียงบทสนทนาเกี่ยวกับงานอดิเรกได้ถูกต้องตามหลักการอ่าน (ต 1.1 ม.2/2)
      4. พูดเปรียบเทียบและอธิบายความเหมือนและความแตกต่างระหว่างการลำดับคำตามโครงสร้างประโยคของภาษาอังกฤษและภาษาไทยได้ (ต 2.2.2/1)
      5. พูดขอและให้ข้อมูลตารางเวลาความถี่ของการทำงานอดิเรกได้ (ต 1.2 ม.2/1, ต 4.1 ม.2/1)
      6. บอกรายละเอียดของบทความที่อ่านเกี่ยวกับศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวได้ (ต 1.1 ม.2/4, ต 2.1 ม.2/2)
      7. เขียนอีเมลบรรยายงานอดิเรกและกิจกรรมที่ตนเองสนใจทำได้ (ต 1.2 ม.2/4)
      8. พูดขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับกราฟข้อมูลกิจกรรมที่สนใจทำเป็นงานอดิเรกได้ (ต 1.1 ม.2/3, ต 1.2 ม.2/4,
         ต 4.1 ม.2/1)

หลักฐานการเรียนรู้
1.    ผลงานปฏิบัติ/ชิ้นงาน
      1. คำตอบที่ได้จากการตอบคำถามบทสนทนาที่ฟังเกี่ยวกับงานอดิเรกและกิจกรรมที่บุคคลในบทสนทนาสนใจทำในกิจกรรม Preview A-B
      2. ถ้อยคำพูดขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับกีฬาที่สนใจเล่นในกิจกรรม Preview C
      3. ถ้อยคำอ่านออกเสียงบทสนทนาเกี่ยวกับงานอดิเรกที่ถูกต้องตามหลักการอ่านในกิจกรรม Conversation B
      4. ถ้อยคำเปรียบเทียบและอธิบายความเหมือนและความแตกต่างระหว่างการลำดับคำตามโครงสร้าง ประโยคของภาษาอังกฤษและภาษาไทยในกิจกรรม Language Focus
      5. ถ้อยคำพูดขอและให้ข้อมูลตารางเวลาความถี่ของการทำงานอดิเรกในกิจกรรม Communication
      6.     คำตอบที่ได้จากการตอบคำถามบทความที่อ่านเกี่ยวกับศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวในกิจกรรม Comprehension A-B
      7. ข้อเขียนอีเมลบรรยายงานอดิเรกและกิจกรรมที่ตนเองสนใจทำในกิจกรรม Writing
      8.  ถ้อยคำพูดขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับกราฟข้อมูลกิจกรรมที่สนใจทำเป็นงานอดิเรกในกิจกรรม The Real World B
2.   การวัดผลและประเมินผล
      1. ประเมินความสามารถในการระบุรายละเอียดในบทสนทนาที่ฟังเกี่ยวกับงานอดิเรกและกิจกรรมที่บุคคลในบทสนทนาสนใจทำในกิจกรรม Preview A-B จากจำนวนคำตอบที่ตอบถูกต้องและใช้เกณฑ์ผ่าน
ร้อยละ 60
      2. ประเมินความสามารถในการพูดขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับกีฬาที่สนใจเล่นในกิจกรรม Preview C โดยใช้แบบประเมินการสนทนากิจกรรมคู่และใช้เกณฑ์ผ่านระดับพอใช้
      3. ประเมินความสามารถในการอ่านออกเสียงบทสนทนาเกี่ยวกับงานอดิเรกในกิจกรรม Conversation B โดยใช้แบบประเมินการอ่านออกเสียงและใช้เกณฑ์การผ่านระดับพอใช้
      4. ประเมินความสามารถในพูดเปรียบเทียบและอธิบายความเหมือนและความแตกต่างระหว่างการลำดับคำตามโครงสร้างประโยคภาษาอังกฤษและภาษาไทยในกิจกรรม Language Focus โดยใช้เกณฑ์การประเมินการนำเสนอและใช้เกณฑ์ผ่านระดับพอใช้
      5. ประเมินความสามารถในการพูดขอและให้ข้อมูลตารางเวลาความถี่ของการทำงานอดิเรกในกิจกรรม Communication โดยใช้เกณฑ์การประเมินความสามารถในการสนทนาและใช้เกณฑ์ผ่านระดับพอใช้
      6.     ประเมินความสามารถในการบอกรายละเอียดของบทความที่อ่านเกี่ยวกับศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวในกิจกรรม Comprehension A-B จากจำนวนคำตอบที่ตอบถูกต้องและใช้เกณฑ์ผ่านร้อยละ 60
      7. ประเมินความสามารถในการเขียนอีเมลบรรยายงานอดิเรกและกิจกรรมที่ตนเองสนใจทำในกิจกรรม Writing โดยใช้เกณฑ์การประเมินการเขียนจดหมาย/อีเมลส่วนตัวและใช้เกณฑ์ผ่านระดับพอใช้
      8.     ประเมินความสามารถในการพูดขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับกราฟข้อมูลกิจกรรมที่สนใจทำเป็นงานอดิเรกในกิจกรรม The Real World B โดยใช้เกณฑ์การประเมินความสามารถในการสนทนาและใช้เกณฑ์ผ่านระดับพอใช้

      หลักฐานอื่นๆ
      -  ผลการทำกิจกรรมคู่
      -    ผลการทำกิจกรรมกลุ่ม
      -    ผลการทำแบบฝึกหัดในหนังสือเรียนและหนังสือแบบฝึกหัด
      นักเรียนประเมินตนเอง
      - นักเรียนประเมินการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 โดยใช้แบบประเมิน Unit 1 Self-Evaluation

กิจกรรมการเรียนรู้

      บทเรียนย่อยที่ 1                                                                                      เวลา 3 ชั่วโมง
      สิ่งที่นักเรียนเรียนรู้และปฏิบัติได้
      1. ระบุรายละเอียดในบทสนทนาที่ฟังเกี่ยวกับงานอดิเรกและกิจกรรมที่บุคคลในบทสนทนาสนใจทำได้
(ต 1.1 ม.2/4)
      2. พูดขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับกีฬาที่สนใจเล่นได้ (ต 1.2 ม.2/1, ต 4.1 ม.2/1)
      3. อ่านออกเสียงบทสนทนาเกี่ยวกับงานอดิเรกได้ถูกต้องตามหลักการอ่าน (ต 1.1 ม.2/2)
      กิจกรรมการเรียนรู้
      กิจกรรม Overview
      1.  แนะนำหัวข้อเรื่องหลัก People and Places
         -  ครูให้นักเรียนเปิดหนังสือเรียน หน้า 2-3 แล้วอ่านออกเสียงหัวข้อเรื่องหลัก People and Places พร้อมกับให้นักเรียนอ่านตามในใจ จากนั้นให้นักเรียนดูภาพบุคคลกับสถานที่ในหนังสือเรียนหน้าเดิม ครูถามนักเรียนว่า What do you see in the pictures? ซึ่งนักเรียนน่าจะตอบว่าเห็นผู้คนและสถานที่
         -  ครูบอกนักเรียนว่าหัวข้อเรื่องหลัก People and Places ประกอบด้วยหน่วยการเรียนรู้ 3 หน่วยและหน่วยการเรียนรู้ World Explorer 1
         -  ครูอ่านออกเสียงข้อความบอกสิ่งที่นักเรียนจะต้องสามารถปฏิบัติได้หลังจากที่เรียนจบหน่วยการเรียนรู้ทั้ง 3 และหน่วยการเรียนรู้ World Explorer 1 พร้อมกับให้นักเรียนอ่านตามในใจ จากนั้นครูบอกนักเรียนว่าหน่วยการเรียนรู้นี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่ และสิ่งที่นักเรียนต้องสามารถปฏิบัติได้มีดังนี้
                 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 นักเรียนต้องสามารถพูดเกี่ยวกับงานอดิเรกและกิจกรรมที่ตนเองสนใจทำได้ อีกทั้งสามารถพูดบรรยายตารางเวลาการทำกิจกรรมของตนเองได้
                 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 นักเรียนต้องสามารถพูดบรรยายลักษณ์ของบุคคลได้ อีกทั้งสามารถอ่านบทความเกี่ยวกับเรื่องหน้ากากเข้าใจ
                 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 นักเรียนต้องสามารถพูดขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับทิศทางได้ อีกทั้งสามารถพูดให้ข้อมูลสถานที่รอบเมืองได้
                 หน่วยการเรียนรู้ World Explorer 1 นักเรียนต้องสามารถทำกิจกรรมทางภาษาเพื่อทบทวนสิ่งที่เรียนรู้จากหน่วยการเรียนรู้ที่ 1-3 ได้
      กิจกรรม Preview
      1.  แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้
         -  ครูให้นักเรียนอ่านออกเสียงชื่อหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง What do you like to do? ในหนังสือเรียน หน้า 4 และให้นักเรียนดูภาพบุคคลที่กำลังทำกิจกรรมต่าง ๆ ในหนังสือเรียน หน้า 4-5 จากนั้นตรวจสอบความรู้เดิมของนักเรียนเกี่ยวกับกิจกรรมที่บุคคลในภาพกำลังทำอยู่ โดยถามนักเรียนดังนี้ What are the people doing?
         -  ครูให้นักเรียนคาดเดาเกี่ยวกับเรื่องที่นักเรียนจะได้เรียนรู้จากหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 โดยครูถามนักเรียนว่า What do you think this unit is about?
         -  ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนบอกคำตอบอย่างอิสระสักครู่หนึ่งจนกว่าครูจะได้คำตอบว่า Hobbies หรือ Interests ครูเขียนคำว่า Hobbies and interests บนกระดาน แล้วบอกนักเรียนว่า hobbies เป็นรูปคำนามพหูพจน์ของคำว่า hobby ซึ่งมีความหมายว่า งานอดิเรก ส่วนคำว่า interests เป็นรูปคำนามพหูพจน์ของคำว่า interest ซึ่งมีความหมายว่า กิจกรรมที่สนใจทำ
         -  ครูอธิบายว่าเมื่อเรียนจบบทเรียนนี้แล้วนักเรียนจะต้องสามารถระบุรายละเอียดในบทสนทนาที่ฟังเกี่ยวกับงานอดิเรกและกิจกรรมที่บุคคลในบทสนทนาสนใจทำ อ่านออกเสียงบทสนทนาเกี่ยวงานอดิเรกได้ถูกต้องตามหลักการอ่าน อีกทั้งสามารถพูดขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับกีฬาที่สนใจเล่นได้
      2. พัฒนาคำศัพท์
         -  ครูอ่านออกเสียงวลีที่บรรยายการทำงานอดิเรกและประเภทของงานอดิเรกในกรอบข้อความสีชมพูและสีขาวใต้ภาพในหนังสือเรียน หน้า 4-5 พร้อมกับให้นักเรียนอ่านตามในใจ
         -  ครูให้นักเรียนบอกความหมายของวลีที่ครูอ่านไปเมื่อสักครู่โดยใช้ภาพเป็นบริบท จากนั้นครูช่วยสรุปความหมายของคำศัพท์ให้แก่นักเรียน
         -  ครูให้นักเรียนบอกความสัมพันธ์ระหว่างวลีในกรอบข้อความสีชมพูกับกรอบข้อความสีขาวโดยใช้ภาพเป็นบริบท จากนั้นครูสรุปว่าข้อความในกรอบสีชมพูคือประเภทของงานอดิเรก ส่วนข้อความในกรอบสีขาวคือกิจกรรมแต่ละประเภทของงานอดิเรก เช่น
             •   ภาพที่ 1 คือกิจกรรมวาดภาพ (draw) เป็นกิจกรรมหนึ่งของประเภทการทำงานศิลปะ (make art)
             •   ภาพที่ 2 คือกิจกรรมฝึกคาราเต้ (do karate) เป็นกิจกรรมหนึ่งของประเภทการฝึกศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว (practice martial arts) ครูอธิบายข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ karate และ martial arts (ดูข้อมูลด้านวัฒนธรรม)
             •   ภาพที่ 3 คือกิจกรรมสะสมหุ่นจำลองจัดท่าได้ (collect action figures) เป็นกิจกรรมหนึ่งของประเภทการสะสมสิ่งของ (collect things) ครูอธิบายข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ action figures (ดูข้อมูลด้านวัฒนธรรม)
             •   ภาพที่ 4 คือกิจกรรมเล่นวอลเลย์บอล (play volleyball) เป็นกิจกรรมหนึ่งของประเภทการเล่นกีฬา (play sports)  
             •   ภาพที่ 5 คือกิจกรรมเล่นกีตาร์ (play the guitar) เป็นกิจกรรมหนึ่งของประเภทการเล่นดนตรี (play an instrument)
         -      ครูเขียนหัวข้อประเภทของงานอดิเรกบนกระดานดังนี้ sports, musical instruments, kinds of art และ things people might collect จากนั้นให้นักเรียนช่วยกันบอกกิจกรรมการทำงานอดิเรกอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับหัวข้อประเภทของงานอดิเรกดังกล่าว ครูเขียนสิ่งที่นักเรียนบอกบนกระดาน
      3. ฟังบทสนทนาเกี่ยวกับงานอดิเรกของบุคคลในภาพ


      กิจกรรมก่อนฟัง
         -  ครูอ่านออกเสียงคำสั่งกิจกรรม Preview  A ในหนังสือเรียน หน้า 4 พร้อมกับให้นักเรียนอ่านตามในใจ จากนั้นอธิบายให้นักเรียนฟังว่ากิจกรรมนี้นักเรียนจะได้ฟังบทสนทนาสั้น ๆ จำนวน 5 บท ซึ่งบุคคลในบทสนทนาจะพูดขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับงานอดิเรก จากนั้นให้นักเรียนเขียนชื่อของบุคคลทั้ง 5 คนลงในแต่ละภาพซึ่งตรงกับงานอดิเรกที่บุคคลนั้นสนใจทำ
         -      ครูอ่านออกเสียงชื่อของบุคคลทั้ง 5 คนในกิจกรรม Preview A ซึ่งได้แก่ Amy, Pablo, Daniel, Matt และ Sarah พร้อมกับให้นักเรียนอ่านตามในใจ
         ครูเขียนคำศัพท์และสำนวนในบทสนทนาที่คาดว่านักเรียนไม่รู้ความหมายบนกระดาน แล้วบอกความหมายของคำเหล่านั้นแก่นักเรียน ได้แก่ introduce (แนะนำ); also (อีกด้วย); ourselves (ด้วยตัวของพวกเราเอง); comics (ตัวการ์ตูน); wow (คำอุทานแสดงความประหลาดใจ); own (ของตัวเอง); That’s cool. (เยี่ยมมาก); Really? (จริงหรือ); That’s right. (ถูกต้อง); That’s great. (เยี่ยมมาก) และ You go first. (เชิญคุณก่อน)
         -  ครูให้นักเรียนคาดเดาคำตอบก่อนฟังบทสนทนาว่าบุคคลใดน่าจะสนใจทำงานอดิเรกประเภทใด ครูเขียนสิ่งที่นักเรียนบอกบนกระดาน

      กิจกรรมระหว่างฟัง
         -  ครูเปิดซีดีบันทึกเสียง (CD1, Track 1) ให้นักเรียนฟังบทสนทนา 4 รอบ รอบแรกครูให้นักเรียนฟังบทสนทนาทั้งหมดเพื่อจับความโดยรวมว่าบุคคลใดสนใจทำงานอดิเรกประเภทใด รอบที่ 2 ครูให้นักเรียนฟังเพื่อตรวจสอบคำตอบที่นักเรียนได้คาดเดาไว้ก่อนหน้านี้บนกระดาน รอบที่ 3 ครูหยุดซีดีบันทึกเสียงทุกครั้งที่จบแต่ละบทสนทนา เพื่อให้นักเรียนเติมชื่อของบุคคลลงใต้ภาพ และรอบที่ 4 ครูให้นักเรียนฟังเพื่อแก้ไขคำตอบ
         -  ครูให้นักเรียนร่วมกันเฉลยคำตอบพร้อมกันทั้งชั้นเรียน (ดูเฉลยท้ายเล่ม)
         -      ครูอ่านออกเสียงคำสั่งกิจกรรม Preview B ในหนังสือเรียน หน้า 4 แล้วอธิบายว่านักเรียนจะได้ฟังบทสนทนาเดิม แต่ในครั้งนี้นักเรียนจะต้องฟังแล้วเลือกคำในกรอบข้อความในกิจกรรม Preview B มาเขียนลงในตารางให้ตรงตามหัวข้อที่กำหนดมาให้
         -  ก่อนที่ครูจะให้นักเรียนฟังบทสนทนา ครูให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงคำศัพท์ในกรอบข้อความ และหัวข้อตารางในกิจกรรม Preview B ครูเน้นย้ำว่าคำศัพท์ในกรอบข้อความบ่งบอกเกี่ยวกับสิ่งที่บุคคลในบทสนทนาสนใจทำ ส่วนหัวข้อตารางเป็นคำศัพท์ที่บ่งบอกเกี่ยวกับประเภทของงานอดิเรก
         -  ครูให้นักเรียนฟังซีดีบันทึกเสียง (CD1, Track 1) จำนวน 2 รอบ ในรอบแรกครูให้นักเรียนฟังเพื่อจับ-ความโดยรวมเกี่ยวกับประเภทของงานอดิเรกและสิ่งที่บุคคลในบทสนทนาสนใจทำ และในรอบที่ 2 ครูให้นักเรียนฟังเพื่อเขียนคำตอบลงในตาราง หลังจากนั้นครูให้นักเรียนเปรียบเทียบคำตอบกับเพื่อน แล้วให้นักเรียนที่สมัครใจอ่านคำตอบให้แก่เพื่อนในชั้นเรียน (ดูเฉลยท้ายเล่ม)
         -  ครูประเมินความสามารถในการระบุรายละเอียดในบทสนทนาที่ฟังเกี่ยวกับงานอดิเรกและกิจกรรมที่บุคคลในบทสนทนาสนใจทำในกิจกรรม Preview A-B จากจำนวนคำตอบที่ตอบถูกต้องและใช้เกณฑ์ผ่านร้อยละ 60
      กิจกรรมหลังฟัง
         -  ครูให้นักเรียนจับคู่กับเพื่อนเพื่อทำกิจกรรม Preview C ในหนังสือเรียน หน้า 4 ซึ่งเป็นกิจกรรมให้นักเรียนสลับกันพูดถามตอบข้อมูลเกี่ยวกับกีฬาที่ตนเองสนใจเล่น
         -  ครูเริ่มต้นด้วยการสาธิตวิธีการทำกิจกรรมให้แก่นักเรียน โดยครูเลือกนักเรียนคนหนึ่งให้เป็นคู่สนทนาของครูแล้วสลับกันพูดถามตอบข้อมูลเกี่ยวกับกีฬาตามบทสนทนาที่กำหนดมาให้ในกิจกรรม Preview C หลังจากนั้นสลับกันพูดถามตอบอีกครั้ง แต่เปลี่ยนจากข้อมูลกีฬาที่กำหนดมาให้เป็นข้อมูลกีฬาที่ครูและนักเรียนสนใจเล่น 
         -  ครูอธิบายรูปประโยคในกิจกรรม Preview C ว่าประโยคคำถาม Do you like to play sports? เป็นประโยคคำถามใช้ถามคู่สนทนาว่าชอบเล่นกีฬาหรือไม่ ซึ่งคำตอบคือ yes หรือ no ส่วนประโยคคำถาม What sports do you play? เป็นประโยคคำถามใช้ถามคู่สนทนาว่าชอบเล่นกีฬาประเภทใด ดังนั้นคำตอบจึงต้องเป็นชื่อกีฬา เช่น I play soccer.
         -  ครูให้นักเรียนดูคำว่า to play ในประโยคคำถาม Do you like to play sports? อีกครั้ง จากนั้นอธิบายว่าประโยคคำถามข้อนี้แตกต่างจากประโยคคำถาม Do you like sports? เนื่องจากประโยคคำถาม Do you like sports? เป็นคำถามที่ถามครอบคลุมถึงความชอบกีฬาไม่ว่าจะเป็นการเล่น การชม การอ่านข่าวหรือบทความกีฬา หรือการสนทนาหัวข้อเรื่องกีฬา
         -  ครูให้นักเรียนทั้งชั้นเรียนช่วยกันบอกชื่อกีฬาที่นักเรียนรู้จักเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพูดสนทนากับเพื่อนในกิจกรรม Preview C ครูเขียนชื่อกีฬาที่นักเรียนบอกบนกระดาน ซึ่งอาจมีชื่อกีฬาดังนี้ badminton, volleyball, basketball, boxing, golf, futsal, wresting และ table tennis เป็นต้น
         -  ครูให้นักเรียนทำกิจกรรม Preview C ครูเดินสำรวจการทำกิจกรรมของนักเรียน เมื่อนักเรียนทำกิจกรรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ครูสุ่มเรียกนักเรียนบางคู่ออกมานำเสนอการสนทนาที่หน้าชั้นเรียน
         -  ครูประเมินความสามารถในการพูดขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับกีฬาที่สนใจเล่นในกิจกรรม Preview C โดยใช้แบบประเมินการสนทนากิจกรรมคู่และใช้เกณฑ์ผ่านระดับพอใช้
      กิจกรรม Conversation
      1.  อ่านออกเสียงบทสนทนา
         -  ครูให้นักเรียนดูภาพสถานการณ์ของบทสนทนาในหนังสือเรียน หน้า 5 แล้วให้นักเรียนตอบคำถามเกี่ยวกับภาพดังนี้
                 T:   Where are the boy and the girl in the first exchange?
                 Ss: They are in front of their school.
                 T:   Where are they going?
                 Ss: They are going to the girl’s house.
                 T:   What is she doing in the third exchange?
                 Ss: She is playing the guitar.
                 T:   What is she doing in the fourth exchange?
                 Ss: She is singing.
                 T:   How does the boy feel in the third and the fourth exchanges?
                 Ss: He is not happy with her performances.
                 T:   How does the girl feel in the third and the fourth exchanges?
                 Ss: She is happy with her activities.
         -  ครูบอกนักเรียนว่านักเรียนจะได้ฟังและอ่านออกเสียงบทสนทนาสั้น ๆ 4 บท ระหว่าง Stig และ Maya ในกิจกรรม Conversation A ในหนังสือเรียน หน้า 5
         -  ครูเปิดซีดีบันทึกเสียง (CD1, Track 2) ให้นักเรียนฟังบทสนทนารอบแรก พร้อมกับให้นักเรียนอ่านตามในใจ และในรอบที่ 2 ครูหยุดซีดีบันทึกเสียงทุกครั้งที่จบแต่ละบทสนทนาแล้วให้นักเรียนอ่านออกเสียงตาม
         -  ครูให้นักเรียนสังเกตคำว่า can play ในบทสนทนาที่ 2 แล้วอธิบายให้นักเรียนฟังว่าโดยปกติแล้ว can เป็นคำที่ใช้เพื่อบอกถึงความสามารถ แต่ can ยังสามารถใช้เพื่อการเสนอความช่วยเหลือได้ด้วยเช่นกัน ในบทสนทนาที่ 2 Maya ใช้คำว่า can ในการเสนอที่จะเล่นกีตาร์ให้ Stig ฟัง ครูยกตัวอย่างโดยเขียนประโยค I can carry those books for you. บนกระดาน และอธิบายว่าประโยคนี้ผู้พูดเสนอการช่วยถือหนังสือให้แก่คู่สนทนา
      2. พูดเปลี่ยนหัวข้อเรื่อง
         -  ครูอธิบายสำนวน That’s OK. ในกรอบ Real English ในหนังสือเรียน หน้า 5 ดังนี้ สำนวน That’s OK. นิยมใช้ในภาษาพูด มีความหมายว่า No, thanks. เป็นการพูดเปลี่ยนหัวข้อเรื่องเพื่อปฏิเสธคู่สนทนาที่เสนอทำบางสิ่งบางอย่างให้แก่ตนอย่างสุภาพ ครูยกตัวอย่างโดยเขียนบทสนทนาบนกระดานดังนี้
                 A:     Would you like some coffee?
                 B: That’s OK. ความหมายคือ No, thanks. หรือ I don’t want to bother you.
                 ครูอธิบายต่อไปว่า That’s OK. สามารถใช้ได้ในอีกสถานการณ์หนึ่งคือการพูดตอบคู่สนทนาเมื่อคู่สนทนากล่าวคำขอโทษกับตน ซึ่งการใช้ That’s OK. ในสถานการณ์นี้จะมีความหมายว่า It’s alright. หรือ I’m not angry. ครูยกตัวอย่างโดยเขียนบทสนทนาบนกระดานดังนี้
                 A:     I’m sorry. I’m late.
                 B: That’s OK. ความหมายคือ Don’t worry about it.
         -  ครูอ่านออกเสียงบทสนทนาบนกระดานและให้นักเรียนอ่านออกเสียงตาม จากนั้นให้นักเรียนจับคู่กับเพื่อนแล้วฝึกอ่านออกเสียงบทสนทนาบนกระดาน ครูเดินสำรวจการทำกิจกรรมของนักเรียน
         -  ครูให้นักเรียนจับคู่กับเพื่อนเพื่อสลับกันรับบทบาทเป็น Stig และ Maya ในกิจกรรม Conversation B ในหนังสือเรียน หน้า 5 ในการสนทนารอบแรกให้สนทนาตามบทที่กำหนดมาให้ ครูให้นักเรียนสนทนาอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ให้นักเรียนนำคำสีน้ำเงินในกรอบด้านล่างซ้ายมาแทนคำสีน้ำเงินในกรอบคำพูดในแต่ละบทสนทนา
         -  ครูให้นักเรียนทำกิจกรรม Conversation B จากนั้นให้นักเรียนออกมานำเสนอกิจกรรมที่หน้าชั้นเรียน
         -  ครูประเมินความสามารถในการอ่านออกเสียงบทสนทนาเกี่ยวกับงานอดิเรกในกิจกรรม Conversation B โดยใช้แบบประเมินการอ่านออกเสียงและใช้เกณฑ์การผ่านระดับพอใช้
      กิจกรรมเสริมทักษะ/ประสบการณ์ทางภาษา
      - ครูให้นักเรียนทำกิจกรรม Vocabulary Focus และ Conversation ในหนังสือแบบฝึกหัด หน้า 2

      บทเรียนย่อยที่ 2                                                                    เวลา 2 ชั่วโมง
      สิ่งที่นักเรียนเรียนรู้และปฏิบัติได้
      1. พูดเปรียบเทียบและอธิบายความเหมือนและความแตกต่างระหว่างการลำดับคำตามโครงสร้างประโยคของภาษาอังกฤษและภาษาไทยได้ (ต 2.2.2/1)
      2. พูดขอและให้ข้อมูลตารางเวลาความถี่ของการทำงานอดิเรกได้ (ต 1.2 ม.2/1, ต 4.1 ม.2/1)
      กิจกรรมการเรียนรู้
      กิจกรรม Language Focus 
      1.  แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้
         -  ครูให้นักเรียนเปิดหนังสือเรียน หน้า 6-7 แล้วบอกนักเรียนว่าบทเรียนนี้นักเรียนจะได้เรียนรู้โครงสร้างประโยคคำถามและประโยคบอกเล่าเกี่ยวกับงานอดิเรกและกิจกรรมที่สนใจทำโดยใช้โครงสร้างประโยค Simple Present Tense, like to + verb และ Wh-question: How often และเมื่อเรียนจบบทเรียนนี้แล้วนักเรียนจะต้องสามารถพูดเปรียบเทียบและอธิบายความเหมือนและความแตกต่างระหว่างการลำดับคำตามโครงสร้างประโยคของภาษาอังกฤษและภาษาไทยได้ อีกทั้งพูดขอและให้ข้อมูลตารางเวลาความถี่ของการทำงานอดิเรกได้
      2. เรียนรู้โครงสร้างประโยคคำถามและคำตอบเกี่ยวกับงานอดิเรกและกิจกรรมที่สนใจทำ
         -  ครูให้นักเรียนฟังซีดีบันทึกเสียง (CD1, Track 3) ประโยคคำถามและคำตอบเกี่ยวกับงานอดิเรกและกิจกรรมที่สนใจทำในแผนภูมิกิจกรรม Language Focus A ในหนังสือเรียน หน้า 6
         -  ครูอธิบายหลักการใช้ Simple Present Tense โดยเขียนประโยคคำถามและคำตอบ 2 ประโยคแรกในแผนภูมิบนกระดานและขีดเส้นใต้ที่คำว่า do ดังนี้ What do you like to do on weekdays / on weekends? และ Do you like to play tennis? จากนั้นอธิบายให้นักเรียนฟังว่า do ในประโยคคำถามทั้ง 2 ข้อทำหน้าที่เป็น Verb to do ซึ่งนักเรียนสามารถเปลี่ยนเป็นใช้ does ได้ขึ้นอยู่กับประธาน ถ้าประธานเป็นเอกพจน์จะใช้ does แต่ถ้าประธานเป็นพหูพจน์จะใช้ do ครูเขียน he, she, it, you, they, I และ we และตารางที่มีหัวข้อ do กับ does บนกระดาน จากนั้นให้นักเรียนบอกว่า pronoun คำใดควรอยู่ในช่องหัวข้อ do หรือ does
Verbs to do
Pronouns
Do

Does

                     ครูเขียนสิ่งที่นักเรียนบอกบนกระดาน จากนั้นเฉลยคำตอบดังนี้
Verbs to do
Pronouns
Do
you, they, I, we
Does
he, she, it,
                     ครูให้นักเรียนดูคำว่า do ตัวที่สองในประโยคคำถาม What do you like to do on weekdays / on weekends? แล้วอธิบายว่า do ในประโยคคำถามข้อนี้ทำหน้าที่เป็นคำกริยา (Verbs) ซึ่งเป็นคำที่ใช้บอกอาการกริยาต่าง ๆ ของบุคคลหรือสัตว์ ครูลบคำกริยา do ตัวที่ 2 ในประโยค แล้วเขียนคำกริยาอื่นลงไปในประโยคคำถามเพื่อเป็นการยกตัวอย่างให้แก่นักเรียนดังนี้
                                                       play
                                  What do you like to          watch   on weekdays / on weekends?
                                                         eat
         -  ครูสรุปว่าการบอกเล่าเรื่องงานอดิเรกและกิจกรรมที่สนใจทำในปัจจุบันจะใช้โครงสร้างประโยค Simple Present Tense ซึ่งโครงสร้างประโยคคำถามแบบ Wh-Questions คือ Question Word + Verb to do + Subject + Main verb เช่น What do you like to do on weekends? ส่วนโครงสร้างประโยคคำถามแบบ Yes/No Questions คือ Verb to do + Subject + Main verb เช่น Do you like to collect stamps? และโครงสร้างประโยคบอกเล่าคือ Subject + Main verb เช่น I play soccer every day. และ He watches TV every day. ครูอธิบายหลักการเติม s ที่คำกริยาในประโยคโครงสร้าง Simple Present Tense
         -  ครูอธิบายหลักการใช้ like to + verb โดยเริ่มต้นจากการอ่านออกเสียงประโยค I like to play sports. ในแผนภูมิ แล้วอธิบายให้นักเรียนฟังว่าคำที่ตามหลัง like to จะเป็นคำกริยาที่ไม่เติม -ing และจะไม่มีการเปลี่ยนรูปไม่ว่าประธานของประโยคจะเป็นคำนามพหูพจน์หรือเอกพจน์ก็ตาม ครูเขียนประโยคตัวอย่างบนกระดานดังนี้
                     They like to collect stamps.
                     She likes to play the guitar.
         -  ครูอธิบายหลักการใช้ Wh-question: How often โดยครูอ่านออกเสียงประโยคคำถาม How often does he play? และคำตอบ He plays three times a week. ในแผนภูมิ แล้วอธิบายให้นักเรียนฟังว่าคำถามข้อนี้ขึ้นต้นด้วย How often เป็นการถามความถี่ ดังนั้นคำตอบจึงตอบเป็นจำนวนครั้ง ครูเขียนตัวอย่างการตอบของคำถามข้อนี้เพิ่มเติมบนกระดานดังนี้
                                                                once
                                                    He plays  six times  a week.
                                                                twice
         -  ครูอ่านออกเสียงประโยคคำถาม When do they play? และคำตอบ They play before/after school. ในแผนภูมิ แล้วอธิบายว่าคำถามที่ขึ้นต้นด้วย When เป็นคำถามที่ต้องการคำตอบแบบ
ไม่เจาะจงเวลาที่ชัดเจน ดังนั้นคำตอบของคำถามข้อนี้จึงตอบเป็นวลี
before/after school ซึ่งนักเรียนสามารถตอบโดยใช้วลีอื่นได้ เช่น in the afternoon หรือ in the morning
         -  ครูให้นักเรียนดูด้านขวาของแผนภูมิแล้วอธิบายว่าคำที่ใช้บอกความถี่ในการทำกิจกรรม จำนวนหนึ่งครั้งคือ once จำนวน 2 ครั้งคือ twice จำนวน 3 ครั้งคือ three times แต่ทางวิชาคณิตศาสตร์ times มีความหมายว่า คูณ เช่น 2 X 3 = 6 อ่านว่า Two times three equals six.
      3. ตรวจสอบความเข้าใจ
         -  ครูตรวจสอบความเข้าใจหลักการใช้ Simple Present Tense และการใช้ like to + verb โดยให้นักเรียนทำกิจกรรม Language Focus B ในหนังสือเรียน หน้า 6 ซึ่งให้นักเรียนเติมคำลงในช่องว่างข้อ 2-6 ให้สมบูรณ์ จากนั้นจับคู่คำถามข้อ 2-6 ให้สัมพันธ์กับคำตอบข้อ a-f
         -  เมื่อนักเรียนทำกิจกรรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ครูให้นักเรียนเปรียบเทียบกับเพื่อนคำตอบโดยให้นักเรียนสลับกันอ่านประโยคคำถามและคำตอบของตน จากนั้นให้นักเรียนที่สมัครใจอ่านคำตอบในชั้นเรียน (ดูเฉลยท้ายเล่ม)
         -  ครูตรวจสอบความเข้าใจหลักการใช้ Wh-question: How often โดยให้นักเรียนทำกิจกรรม Language Focus C ในหนังสือเรียน หน้า 6 ครูอ่านคำสั่งแล้วอธิบายว่าให้นักเรียนใช้ข้อมูลจากตารางเวลาการทำกิจกรรมของ Nadine เติมข้อความลงในบทสนทนาระหว่าง Ming กับ Nadine
         เมื่อนักเรียนทำกิจกรรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ครูเปิดซีดีบันทึกเสียง (CD1, Track 4) เพื่อให้นักเรียนตรวจสอบคำตอบ จากนั้นให้นักเรียนที่สมัครใจออกมาเขียนคำตอบบนกระดาน (ดูเฉลยท้ายเล่ม)
         - ครูให้นักเรียนจับคู่กับเพื่อนเพื่อสลับกันแสดงบทบาทเป็น Ming และ Nadine ครูสุ่มนักเรียนออกมานำเสนอการอ่านบทสนทนาที่หน้าชั้นเรียน (ดูเฉลยท้ายเล่ม)
      4. เปรียบเทียบประโยคภาษาอังกฤษกับภาษาไทย
         -  ครูให้นักเรียนจับคู่กับเพื่อนเพื่อพูดแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ รวมทั้งอธิบายความเหมือนและความแตกต่างระหว่างการลำดับคำในประโยคคำถามและประโยคบอกเล่าของของภาษาอังกฤษและภาษาไทยตามโครงสร้าง Simple Present Tense, like to + verb และ Wh-question: How often โดยให้นักเรียนแต่ละคู่ช่วยกันสรุปข้อมูลเป็นแผนภูมิ
         - ครูให้นักเรียนออกมานำเสนอข้อมูลที่หน้าชั้นเรียน ซึ่งข้อมูลที่นำเสนอสามารถมีได้หลากหลาย
         -  ครูประเมินความสามารถในการพูดเปรียบเทียบและอธิบายความเหมือนและความแตกต่างระหว่างการลำดับคำตามโครงสร้างประโยคภาษาอังกฤษและภาษาไทยในกิจกรรม Language Focus โดยใช้เกณฑ์การประเมินการนำเสนอและใช้เกณฑ์ผ่านระดับพอใช้
      กิจกรรม Pronunciation
      1. ออกเสียงคำ
         -  ครูบอกนักเรียนว่านักเรียนจะได้ฝึกอ่านออกเสียง to แบบลดเสียงในกิจกรรม Pronunciation A ในหนังสือเรียน หน้า 7 ครูเริ่มต้นโดยให้นักเรียนดูประโยคตัวอย่างที่มี to อยู่ในประโยค จากนั้นอธิบายให้นักเรียนฟังว่าการพูดภาษาอังกฤษที่เป็นธรรมชาติ ผู้พูดจะไม่พูดออกเสียงภาษาอังกฤษทีละคำอย่างชัดเจนเพราะบางคำผู้พูดก็ออกเสียงคำนั้นแบบลดเสียงเช่น to ในประโยคตัวอย่างที่ให้มานี้
         -  ครูเปิดซีดีบันทึกเสียง (CD1, Track 5) การออกเสียง “to” ในประโยคจำนวน 2 รอบ รอบแรกครูให้นักเรียนฟังแล้วสังเกตการออกเสียง “to” ในประโยค รอบที่ 2 ครูให้นักเรียนฟังแล้วอ่านออกเสียงตาม
         -  ครูตรวจสอบความสามารถในการฟังการออกเสียง “to” แบบลดเสียงโดยให้นักเรียนทำกิจกรรม Pronunciation B ในหนังสือเรียนหน้าเดิม ซึ่งให้นักเรียนฟังซีดีบันทึกเสียงแล้วเติมข้อความที่ได้ยินลงในช่องว่าง
         - ครูให้นักเรียนฟังซีดีบันทึกเสียง (CD1, Track 6) การจำนวน 3 รอบ ในรอบแรกครูให้นักเรียนฟังเพื่อจับข้อความที่นักเรียนต้องเติมลงในช่องว่าง ในรอบที่ 2 ครูให้นักเรียนฟังแล้วเขียนข้อความที่นักเรียนได้ยินลงในช่องว่าง และในรอบที่ 3 ครูให้นักเรียนฟังเพื่อตรวจสอบคำตอบ จากนั้นครูให้นักเรียนที่สมัครใจออกมาเขียนคำตอบบนกระดาน (ดูเฉลยท้ายเล่ม)
         -  ครูตรวจสอบการอ่านออกเสียง “to” ในประโยค โดยให้นักเรียนจับคู่กับเพื่อนเพื่อทำกิจกรรม Pronunciation C ในหนังสือเรียนหน้าเดิม ครูอธิบายว่าให้นักเรียนแต่ละคู่สลับกันอ่านออกเสียงประโยค 6 ประโยคในกิจกรรม Pronunciation B
         -  เมื่อนักเรียนทำกิจกรรมเสร็จแล้ว ครูให้นักเรียนออกมานำเสนอการอ่านออกเสียงที่หน้าชั้นเรียน
      กิจกรรม Do you know?
         ครูสอบถามนักเรียนเกี่ยวกับกีฬาที่นักเรียนสนใจเล่นดังนี้ What sports do you like to play? และ What do you know about it?
         -  ครูอ่านออกเสียงคำถาม How many players are there on volleyball team? และตัวเลือกตอบจากกิจกรรม Do you know? ในหนังสือเรียน หน้า 7 ครูให้นักเรียนเลือกคำตอบโดยใช้การคาดเดา
         -  ครูเฉลยคำตอบ ข้อ b ครูอธิบายข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับทีมวอลเล่ย์บอล (ดูข้อมูลด้านวัฒนธรรม)
      กิจกรรม Communication
         -  ครูให้นักเรียนดูตารางในกิจกรรม Communication ในหนังสือเรียน หน้า 7 แล้วถามนักเรียนว่า What is this game? และ How do you play this game?
         -  ครูอ่านออกเสียงคำสั่งกิจกรรม Communication แล้วบอกนักเรียนว่านักเรียนจะได้เล่นเกมบิงโก กลุ่มละ 5 คน โดยมีกติกาการเล่นดังนี้
                 1) เมื่อถึงตาเล่นของคนใดคนหนึ่ง ให้คนนั้นถามคำถามเพื่อนในกลุ่มเกี่ยวกับงานอดิเรกและกิจกรรมที่เขาสนใจทำเป็นงานอดิเรก
                 2) นักเรียนในกลุ่มตอบคำถามนั้นโดยใช้ข้อมูลที่เป็นจริงของตนเอง
                 3) เมื่อตอบคำถามเสร็จแล้ว ให้วางตัวหมากลงในช่องกรอบสี่เหลี่ยมที่ตนเองเลือกตอบ คนใดที่สามารถวางตัวหมากได้ครบแถวก่อนคือผู้ชนะ
         -  ครูให้นักเรียนเล่นเกมและเดินสำรวจการทำกิจกรรมของนักเรียน
         -  ครูประเมินความสามารถในการพูดขอและให้ข้อมูลตารางเวลาความถี่ของการทำงานอดิเรกในกิจกรรม Communication โดยใช้เกณฑ์การประเมินความสามารถในการสนทนาและใช้เกณฑ์ผ่านระดับพอใช้
      กิจกรรมเสริมทักษะ/ประสบการณ์ทางภาษา
      - ครูให้นักเรียนทำกิจกรรม Language Focus A-B ในหนังสือแบบฝึกหัด หน้า 3

      บทเรียนย่อยที่ 3                                                                    เวลา 2 ชั่วโมง
      สิ่งที่นักเรียนเรียนรู้และปฏิบัติได้
      1.  บอกรายละเอียดของบทความที่อ่านเกี่ยวกับศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวได้ (ต 1.1 ม.2/4, ต 2.1 ม.2/2)
      กิจกรรมการเรียนรู้
      กิจกรรม Reading
      กิจกรรมก่อนอ่าน
      1.  แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้
         -      ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวที่นักเรียนรู้จักโดยให้นักเรียนบอกชื่อ รูปแบบการต่อสู้และประเทศที่ใช้ศิลปะการต่อสู้นั้น ๆ
         -      ครูบอกนักเรียนว่านักเรียนจะได้อ่านบทความเรื่อง Capoeira: The Fighting Dance และเมื่ออ่านแล้วนักเรียนจะต้องสามารถบอกรายละเอียดของเรื่องที่อ่านได้
      2. สำรวจภูมิหลังเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
         -      ครูถามคำถามเกี่ยวกับ Capoeira โดยที่ครูยังไม่ให้นักเรียนเปิดหนังสือเรียน ดังนี้ What is capoeira? ครูเขียนคำตอบของนักเรียนบนกระดาน
         -  ครูให้นักเรียนเปิดหนังสือเรียน หน้า 8-9 และให้ดูภาพประกอบบทความเรื่อง Capoeira: The Fighting Dance ครูอ่านข้อความบรรยายภาพในหน้า 8 พร้อมกับให้นักเรียนอ่านตามในใจ แล้วถามนักเรียนอีกครั้งว่า What is capoeira? ซึ่งนักเรียนน่าจะใช้รูปภาพในการคาดเดาคำตอบว่า A kind of dance and martial art ครูให้นักเรียนเปรียบเทียบคำตอบบนกระดาน
         -      ครูให้นักเรียนดูภาพแผนที่ในหนังสือเรียนหน้าเดิมแล้วถามนักเรียนดังนี้
                 T:   Where is this?
                 Ss: Salvador, Brazil.
                 T:   How does Capoeira relate to this place?
                 Ss: Capoeira is a martial art in Salvador, Brazil.
      3. ตั้งจุดประสงค์ในการอ่าน
         -  ครูให้นักเรียนดูภาพจากหนังสือเรียนหน้าเดิมแล้วใช้คำถามจากกิจกรรม Reading A ถามนักเรียนเพื่อเป็นการตั้งจุดประสงค์ในการอ่านดังนี้ Who are these people? และ What are they doing? ครูให้นักเรียนจับคู่กับเพื่อนแล้วบอกคำตอบของกันและกัน ซึ่งคำตอบสามารถมีได้หลากหลาย
      กิจกรรมระหว่างอ่าน
      1.  อ่านเพื่อตอบคำถามตามจุดประสงค์
         -  ครูให้นักเรียนฟังซีดีบันทึกเสียง (CD1, Track 7) การบทความเรื่อง Capoeira: The Fighting Dance แล้วอ่านตามในใจพร้อมกับขีดเส้นใต้คำศัพท์ที่นักเรียนไม่ทราบความหมาย
         -  ครูให้นักเรียนบอกคำศัพท์ที่นักเรียนไม่ทราบความหมาย ครูเขียนคำศัพท์ที่นักเรียนบอกบนกระดานแล้วให้นักเรียนที่ทราบความหมายบอกความหมายนั้นแก่เพื่อน ส่วนคำใดที่ไม่มีนักเรียนคนใดทราบความหมาย ครูเป็นผู้บอกความหมายของคำเหล่านั้นแก่นักเรียนและให้นักเรียนเขียนคำศัพท์รวมทั้งคำแปลลงในสมุดจดของนักเรียน จากนั้นครูเขียนคำว่า self-respect บนกระดานแล้วอธิบายว่า self มีความหมายว่า ตนเอง คำว่า respect มีความหมายว่า เคารพ ดังนั้นคำว่า self-respect จึงมีความหมายว่า การเคารพตนเอง
         -  ครูอธิบายโครงสร้างประโยคในบทความให้แก่นักเรียนว่าประธานของประโยคสามารถทำกริยาได้มากกว่า 1 กริยา อีกทั้งจะมีการใช้คำสรรพนามแทนสิ่งที่ได้ถูกกล่าวมาแล้วครั้งหนึ่ง ครูยกตัวอย่างโดยเขียนประโยคที่นำมาจากบทความบรรทัดที่ 4-5 บนกระดานดังนี้ It finds homes for the children and helps the children go to school and study. พร้อมกับอธิบายว่าประโยคนี้ประธาน It ทำกริยา finds และ helps อีกทั้งประโยคนี้มีการใช้ It แทนคำนาม a special group called Axe Project ที่ได้ถูกกล่าวมาแล้วก่อนหน้านี้ในบรรทัดที่ 4
         -  ครูเขียนประโยคต่อไปนี้บนกระดาน A special group called Axe Project finds homes for the children. The project/It helps the children go to a school. It helps the children study. แล้วบอกนักเรียนว่านักเรียนสามารถใช้การวิเคราะห์ประโยคเช่นนี้เพื่อสร้างความเข้าใจในการอ่านให้ง่ายยิ่งขึ้น แต่ผู้เขียนจะไม่นิยมเขียนโดยใช้รูปแบบเช่นนี้ เพราะบทความจะมีรูปประโยคที่ง่ายเกินไป
         -  ครูบอกนักเรียนว่าผู้เขียนบทความมีวิธีการนำเสนอข้อมูลหลายวิธี ซึ่งบางครั้งการนำเสนอประโยคที่ยาวก็อาจยากต่อความเข้าใจในการอ่าน ครูให้นักเรียนอ่าน 2 ประโยคแรกของบทความ จากนั้นครูรวมประโยคทั้งสองเข้าด้วยกันและเขียนประโยคดังกล่าวบนกระดานดังนี้ In a lot of places around the world, poor children, called street children, live on the streets because they do not have homes or parents. จากนั้นถามนักเรียนว่าระหว่างประโยค 2 ประโยคในบทความกับประโยค 1 ประโยคบนกระดาน นักเรียนคิดว่าวิธีการเขียนแบบใดง่ายต่อความเข้าใจในการอ่าน และนักเรียนชอบแบบใดมากกว่ากัน รวมทั้งให้นักเรียนบอกเหตุผลสนับสนุนความคิดของนักเรียน โดยครูใช้คำถามถามนักเรียนดังนี้ Which sentence is easier to understand, the one long sentence or the two sentences? และ Which style do you like better? Why?
         -  ครูให้นักเรียนจับคู่กับเพื่อนเพื่อช่วยกันอ่านบทความพร้อมกับวงกลมคำสรรพนามและระบุว่า
คำสรรพนามนั้นใช้แทนคำนามใดในบทความ จากนั้นครูให้นักเรียนช่วยกันบอกคำตอบพร้อมกัน
ทั้งชั้นเรียน ซึ่งรายละเอียดมีดังนี้
             They        บรรทัดที่ 2   เป็นคำสรรพนามใช้แทนคำนาม Street children
             It            บรรทัดที่ 4   เป็นคำสรรพนามใช้แทนคำนาม A special group called Axe Project
             Them (1)   บรรทัดที่ 5   เป็นคำสรรพนามใช้แทนคำนาม The children
             It            บรรทัดที่ 5   เป็นคำสรรพนามใช้แทนคำนาม A special group called Axe Project
             them (2)   บรรทัดที่ 5   เป็นคำสรรพนามใช้แทนคำนาม The children
             He (1)      บรรทัดที่ 10 เป็นคำสรรพนามใช้แทนคำนาม Milton dos Santos
             It            บรรทัดที่ 10 เป็นคำสรรพนามใช้แทนคำนาม Capoeira
             He (2)      บรรทัดที่ 10 เป็นคำสรรพนามใช้แทนคำนาม Milton dos Santos
         -  ครูอ่านออกเสียงคำสั่งกิจกรรม Reading B ในหนังสือเรียน หน้า 8 จากนั้นบอกนักเรียนว่านักเรียนจะต้องอ่านบทความเพื่อตรวจสอบคำตอบที่นักเรียนได้ตอบไว้ในกิจกรรม Reading A
         -  ครูให้นักเรียนอ่านบทความ พร้อมกับหาคำตอบของคำถาม 2 ข้อในกิจกรรม Reading A เมื่อนักเรียนพบคำตอบแล้วครูให้นักเรียนตรวจสอบคำตอบที่นักเรียนได้ตอบไว้ก่อนหน้านี้
         -  ครูให้นักเรียนที่สมัครใจออกมาเขียนคำตอบบนกระดาน ซึ่งคำตอบคือ
                 1) They’re teenagers in Brazil.
                 2) They’re doing capoeira.
         -  ครูให้นักเรียนฟังซีดีบันทึกเสียงรอบที่ 2 ครูหยุดซีดีบันทึกเสียงทุกครั้งที่จบแต่ละย่อหน้า เพื่อให้นักเรียนอ่านตามในใจแล้วตอบคำถามต่อไปนี้ทีละย่อหน้า
                 คำถามจากบทความย่อหน้าที่ 1 คือ 
                 T:   Where do street children live?
                 Ss: On streets.
                 T:   Why do they live on the streets?
                 Ss: They don’t have homes or parents.
                 คำถามจากบทความย่อหน้าที่ 2 คือ
                 T:   How does the Axe Project help street children?
                 Ss: It finds homes for the children and helps them go to school. It also teaches them capoeira.
                 T:   What country develops Capoeira?
                 Ss: Brazil.
                 คำถามจากบทความย่อหน้าที่ 3 คือ
                 T:   How do people practice Capoeira?
                 Ss: People make a large circle, sing, and play instruments. Two people inside the circle fight and dance.
                 คำถามจากบทความย่อหน้าที่ 4 คือ
                 T:   Where does Milton dos Santos live?
                 Ss: In Salvador, Brazil.
                 T:   How old is Milton?
                 Ss: Fifteen.
                 T:   Is Capoeira good for street children? Why or why not?
                 Ss: Yes, they learn respect and self-respect. It also helps them make new lives.
         -  ครูอธิบายข้อมูลเกี่ยวกับ Capoeira, Street children และ The Axe Project (ดูข้อมูลด้านวัฒนธรรม)
         -  ครูอ่านออกเสียงคำสั่งกิจกรรม Reading C ในหนังสือเรียน หน้า 8 ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ให้นักเรียนตอบคำถามเกี่ยวกับบทความเรื่อง Capoeira: The Fighting Dance ในหนังสือเรียน หน้า 10
      กิจกรรม Comprehension
      กิจกรรมหลังอ่าน
      1.  ตรวจสอบความเข้าใจ
         -  ครูตรวจสอบความเข้าใจการอ่านบทความเรื่อง Capoeira: The Fighting Dance โดยให้นักเรียนทำกิจกรรม Comprehension A ในหนังสือเรียน หน้า 10 เมื่อนักเรียนตอบคำถามเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ครูให้นักเรียนเปรียบเทียบคำตอบกับเพื่อนแล้ว ให้นักเรียนช่วยกันเฉลยคำตอบพร้อมกันทั้งชั้นเรียน (ดูเฉลยท้ายเล่ม)
         -  ครูตรวจสอบความเข้าใจการอ่านบทความและคำศัพท์ที่พบในบทความโดยให้นักเรียนทำกิจกรรม Comprehension B ในหนังสือเรียน หน้า 10 เมื่อนักเรียนตอบคำถามเสร็จเรียบร้อยแล้ว ครูให้นักเรียนช่วยกันเฉลยคำตอบพร้อมกันทั้งชั้นเรียน (ดูเฉลยท้ายเล่ม)
         -  ครูให้นักเรียนจับคู่กับเพื่อนเพื่อสลับกันอ่านออกเสียงบทความใน Comprehension B ที่เติมสมบูรณ์แล้ว ครูสุ่มให้นักเรียนบางคนอ่านออกเสียงบทความที่หน้าชั้นเรียน
         -  ครูประเมินความสามารถในการบอกรายละเอียดของบทความที่อ่านเกี่ยวกับศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวในกิจกรรม Comprehension A-B จากจำนวนคำตอบที่ตอบถูกต้องและใช้เกณฑ์ผ่านร้อยละ 60
      กิจกรรม Do you know?
         -  ครูให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงข้อความ Taekwondo is a martial art from____. และตัวเลือกตอบในกิจกรรม Do you know? ในหนังสือเรียน หน้า 10 แล้วให้นักเรียนเลือกคำตอบโดยใช้การคาดเดา
         - ครูเฉลยคำตอบ ข้อ b พร้อมกับอธิบายข้อมูลเกี่ยวกับ Taekwondo (ดูข้อมูลด้านวัฒนธรรม)
      กิจกรรมเสริมทักษะ/ประสบการณ์ทางภาษา
      -  ครูให้นักเรียนทำกิจกรรม Reading A-C ในหนังสือแบบฝึกหัด หน้า 4

      บทเรียนย่อยที่ 4                                                                    เวลา 3 ชั่วโมง
      สิ่งที่นักเรียนเรียนรู้และปฏิบัติได้
      1.  เขียนอีเมลบรรยายงานอดิเรกและกิจกรรมที่ตนเองสนใจทำได้ (ต 1.2 ม.2/4)
      2. พูดขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับกราฟข้อมูลกิจกรรมที่สนใจทำเป็นงานอดิเรกได้ (ต 1.1 ม.2/3, ต 1.2 ม.2/4, ต 4.1 ม.2/1)
      กิจกรรมการเรียนรู้
      กิจกรรม Writing
      กิจกรรมก่อนเขียน
         -  ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบว่าหลังจากที่นักเรียนเรียนจบบทเรียนนี้แล้ว นักเรียนจะต้องสามารถเขียนอีเมลถึงเพื่อนเพื่อบรรยายงานอดิเรกและกิจกรรมที่ตนเองสนใจทำได้ อีกทั้งยังต้องสามารถพูดขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับกราฟข้อมูลกิจกรรมที่สนใจทำเป็นงานอดิเรกได้
         -  ครูให้นักเรียนจับคู่กับเพื่อนและอ่านอีเมลในกิจกรรม Writing ในหนังสือเรียน หน้า 10 แล้วถามนักเรียนดังนี้
                 T:   Who is the writer?
                 Ss: Amy.
                 T:   Who is the receiver?
                 Ss: Sophia.
                 T:   What is the subject of the e-mail?
                 Ss: My hobbies.
         -      ครูอ่านออกเสียงคำสั่งกิจกรรม Writing ในหนังสือเรียน หน้า 11 แล้วครูสรุปให้นักเรียนฟังว่านักเรียนจะได้อ่านอีเมลของ Amy ซึ่งเขียนถึง Sophia เกี่ยวกับงานอดิเรกที่ Amy สนใจทำ จากนั้นให้นักเรียนเขียนตอบอีเมลฉบับนี้โดยใช้ข้อมูลเกี่ยวกับงานอดิเรกและกิจกรรมที่ตนเองสนใจทำ
         -  ครูเขียนคำว่า e-pal บนกระดาน แล้วอธิบายว่า e-pal หมายถึง เพื่อนทางอีเมล ซึ่งบุคคลทั้งสองคนจะเขียนอีเมลถึงกันเป็นงานอดิเรก โดยปกติแล้วทั้งสองจะไม่เคยพบกัน นอกจากติดต่อกันทางอีเมล
         -  ครูอ่านอีเมลให้นักเรียนฟัง 1 รอบ เพื่อให้นักเรียนสำรวจและขีดเส้นใต้คำศัพท์ที่นักเรียนไม่ทราบความหมาย จากนั้นให้นักเรียนบอกคำศัพท์เหล่านั้น ครูเขียนคำศัพท์ที่นักเรียนบอกบนกระดานและให้นักเรียนที่ทราบความหมายของคำศัพท์ดังกล่าวบอกความหมายนั้นแก่เพื่อน ส่วนคำใดที่ไม่มีนักเรียนคนใดทราบความหมายแล้ว ครูให้นักเรียนเปิดหาความหมายจากพจนานุกรม  
         -  ครูให้นักเรียนดูคำขึ้นต้นและคำลงท้ายอีเมล แล้วถามนักเรียนว่า
                 T:   Is the email formal or informal? Why?
                 Ss: It is Informal. Amy used the word “Hi” in the email.
         -  ครูให้นักเรียนอ่านอีเมลย่อหน้าแรกแล้วถามนักเรียนดังนี้
                 T:   What is the first paragraph about?
                 Ss: Amy’s personal information.
                 T:   What are the writer’s hobbies?
                 Ss: Music and Martial arts.
         -  ครูให้นักเรียนอ่านอีเมลย่อหน้าที่สองแล้วถามนักเรียนดังนี้
                 T:   What is the second paragraph about?
                 Ss: Playing the guitar as her hobby.
                 T:   What instrument does she play?
                 Ss: The guitar.
                 T:   When does she play the guitar?
                 Ss: After school.
                 T:   Who play the instrument with her?
                 Ss: Her friends.
         -  ครูให้นักเรียนอ่านอีเมลย่อหน้าที่สามแล้วถามนักเรียนดังนี้
                 T:   What is the third paragraph about?
                 Ss: Doing taekwondo as her hobby.
                 T:   What type of martial arts does she practice?
                 Ss: Taekwondo.
                 T:   Who practice taekwondo with her?
                 Ss: Her brother.
         -  ครูอธิบายว่าอีเมลฉบับนี้เป็นการเขียนแบบไม่เป็นทางการ โดยย่อหน้าแรกของอีเมล Amy จะแนะนำข้อมูลของตนเองและงานอดิเรก 2 งานคือการเล่นดนตรีและการฝึกศิลปะการต่อสู้ ส่วนย่อหน้าที่สอง Amy ได้ขยายความงานอดิเรกแรกของเขาคือการเล่นดนตรี ส่วนย่อหน้าที่สาม Amy ได้ขยายความงานอดิเรกที่สองของเขาคือศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว ครูให้นักเรียนสังเกตว่าทุกย่อหน้าของอีเมล Amy จะเขียนถามข้อมูล Sophia เสมอ
         -  ครูเขียนคำถามต่อไปนี้บนกระดาน
                 1) Why does Amy write the email to Sophia?
                 2) What does Amy expect from Sophia?
         -  ครูให้นักเรียนอ่านอีเมลอีกครั้งเพื่อตอบคำถาม 2 ข้อนี้ เมื่อนักเรียนตอบคำถามเสร็จเรียบร้อยแล้ว ครูให้นักเรียนช่วยกันบอกคำตอบ ซึ่งคำตอบคือ
                 1) Because Amy wants to be Sophia’s new e-pal.
                 2) She expects Sophia to reply the email.
         -  ครูให้นักเรียนช่วยกันบอกคำศัพท์เกี่ยวกับกิจกรรมการทำงานอดิเรกเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเขียน       อีเมลของตนเอง ครูเขียนคำศัพท์ที่นักเรียนบอกบนกระดาน
      กิจกรรมการเขียน
         -  ครูกำหนดให้นักเรียนเขียนอีเมลจำนวนสามย่อหน้าโดยใช้อีเมลที่ให้มาในกิจกรรม Writing เป็นแนวทางในการเขียนของตนเอง
         -  ครูให้นักเรียนตรวจแก้งานเขียนฉบับร่างและเขียนใหม่อีกครั้งหนึ่ง ครูเก็บรวบรวมงานเขียนของนักเรียนไปตรวจ

      กิจกรรมหลังเขียน
         -  ครูประเมินความสามารถในการเขียนอีเมลบรรยายงานอดิเรกและกิจกรรมที่ตนเองสนใจทำในกิจกรรม Writing โดยใช้เกณฑ์การประเมินการเขียนจดหมาย/อีเมลส่วนตัวและใช้เกณฑ์ผ่านระดับพอใช้
         -  ครูคืนงานที่ตรวจแก้ไขเรียบร้อยแล้วให้แก่นักเรียน และให้นักเรียนจับคู่กับเพื่อนเพื่อสลับกันอ่านอีเมล ของกันและกัน ครูเดินสำรวจการทำกิจกรรมของนักเรียน
         -  ครูสุ่มนักเรียนออกมาอ่านอีเมลของตนเองที่หน้าชั้นเรียน
      กิจกรรม The Real World
      1. สำรวจงานอดิเรกและกิจกรรมที่สนใจทำ
         -  ครูให้นักเรียนเปิดหนังสือเรียน หน้า 11 แล้วอ่านออกเสียงประโยคคำถามของ Stig ในกิจกรรม The Real World ที่ถามว่า What can these kids do? และให้นักเรียนอ่านตามในใจ
         -  ครูให้นักเรียนดูภาพ 2 ภาพทางคอลัมน์ด้านขวา แล้วให้นักเรียนคาดเดาคำตอบที่ Stig ถามโดยที่ครูให้นักเรียนปิดส่วนของข้อความไว้ ครูเขียนคำตอบของนักเรียนบนกระดาน
         -  ครูอ่านออกเสียงข้อความบรรยายภาพของ Kenneth Evans และ Patricio Lawson พร้อมกับให้นักเรียนอ่านตามในใจ และตรวจสอบความถูกต้องของคำตอบบนกระดาน ซึ่งคำตอบคือ Kenneth Evans can jump about 2.2 meters. และ Patricio Lawson can make cartoons.
         -  ครูถามคำถามเกี่ยวกับบุคคลทั้งสองต่อไปดังนี้
                 T:   Why is Kenneth’s jump unusual?
                 Ss:    He jumps from his left foot.
                 T:   What makes Patricio Lawson different from other teenagers?
                 Ss: Other teenagers like to watch movies but he likes to make them.
         -  ครูอ่านออกเสียงข้อความทางคอลัมน์ด้านซ้ายพร้อมกับให้นักเรียนอ่านตามในใจ เมื่อครูอ่านจบแล้วครูอธิบายว่า Poll คือ การสำรวจเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ความคิดเห็น และความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบของผู้ที่ถูกสำรวจ ครูยกตัวอย่างวิธีการทำ Poll โดยถามนักเรียนว่า Do you like ice cream? ครูให้นักเรียนที่ชอบ ice cream ยกมือ ครูนับจำนวนนักเรียนที่ยกมือและเขียนจำนวนตัวเลขของนักเรียนที่ยกมือบนกระดาน และสรุปให้นักเรียนฟังว่าตัวเลขบนกระดานนี้คือข้อมูลของจำนวนนักเรียนทั้งหมดที่ชอบ ice cream
         -  ครูให้นักเรียนจับกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน เพื่อทำกิจกรรม The Real World A ในหนังสือเรียน หน้า 11 
         -  ครูอ่านออกเสียงคำสั่ง จากนั้นอธิบายว่านักเรียนจะได้สัมภาษณ์เพื่อนในกลุ่มเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลกิจกรรมที่สมาชิกในกลุ่มสนใจทำ แล้วให้นำข้อมูลที่ได้มาสรุปผลเป็นกราฟข้อมูล
         -  ก่อนให้นักเรียนทำกิจกรรมครูอธิบายการทำกราฟข้อมูลโดยให้นักเรียนดูกราฟข้อมูลในหนังสือเรียนหน้าเดิม แล้วให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงคำถามที่อยู่ด้านบนของกราฟ จากนั้นครูสรุปให้นักเรียนฟังดังนี้
                 จากกราฟหัวข้อ Are you a sports fan? นักเรียนสามารถใช้คำถามข้อนี้สำรวจข้อมูลว่าเพื่อนของนักเรียนในกลุ่มเป็นแฟนกีฬาหรือไม่ ซึ่งคำตอบอาจมีได้ทั้งเป็นและไม่เป็นแฟนกีฬา นักเรียนจึงสามารถสรุปข้อมูลเป็นตัวเลขได้ 2 ข้อมูล คือจำนวนสมาชิกทั้งหมดในกลุ่มที่เป็นแฟนกีฬาซึ่งตอบ Yes และจำนวนสมาชิกในกลุ่มทั้งหมดที่ไม่เป็นแฟนกีฬาซึ่งตอบ No จากนั้นให้นักเรียนนำข้อมูลที่ได้มานำเสนอเป็นกราฟข้อมูลสถิติต่อไป ครูอธิบายกราฟที่เหลือให้แก่นักเรียน
          -  ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรม The Real World A ครูเดินสำรวจการทำกิจกรรมของนักเรียน เมื่อนักเรียนทำกิจกรรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ครูอ่านออกเสียงคำสั่งกิจกรรม The Real World B ในหนังสือเรียน หน้า 11 ซึ่งเป็นกิจกรรมให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเปรียบเทียบกราฟข้อมูลซึ่งเป็นผลการสำรวจที่ได้จากกิจกรรม The Real World A กับเพื่อนกลุ่มอื่น
         -  ครูอ่านออกเสียงประโยคคำถาม How many people are sports fan? ในกรอบคำพูดของกิจกรรม The Real World B และให้นักเรียนแต่ละกลุ่มตอบคำถามข้อนี้โดยใช้ข้อมูลจากผลการสำรวจของกลุ่มตน จากนั้นให้นักเรียนช่วยกันคิดประโยคคำถามที่จะนำไปใช้ในการพูดถามข้อมูลกราฟสถิติของเพื่อนต่างกลุ่ม ครูเขียนคำถามที่นักเรียนบอกบนกระดาน เช่น
                 How many people like to play sports?
                 How many people like to watch sports?
                 How many people like soccer?
         -  ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรม The Real World B ครูเดินสำรวจการทำกิจกรรมของนักเรียน
         -  ครูประเมินความสามารถในการพูดขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับกราฟข้อมูลกิจกรรมที่สนใจทำเป็นงานอดิเรกในกิจกรรม The Real World B โดยใช้เกณฑ์การประเมินความสามารถในการสนทนาและใช้เกณฑ์ผ่านระดับพอใช้
      2. สำนวน
         -  ครูให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงสำนวน “He has two left feet.” และตัวเลือกตอบในกรอบ Idiom ในหนังสือเรียน หน้า 11 แล้วให้นักเรียนเลือกคำตอบจากการคาดเดา จากนั้นครูเฉลยคำตอบ ข้อ c
         -  ครูอธิบายสำนวน “He has two left feet.” ว่าสำนวนนี้ใช้ในสถานการณ์ที่พูดถึงบุคคลหนึ่งซึ่งไม่สามารถเต้นรำได้ ครูยกตัวอย่างโดยเขียนบทสนทนาบนกระดานดังนี้
                 A: Are you going to the school dance with John?
                 B: No way! He has two left feet.
                 ครูอธิบายต่อไปว่าสำนวน “He has two left feet.” สามารถใช้ในสถานการณ์ที่พูดถึงบุคคลซึ่งมีความงุ่มง่ามหรือซุ่มซ่ามได้เช่นกัน ครูยกตัวอย่างโดยเขียนบทสนทนาบนกระดานดังนี้
                 A:     Have you ever tried skiing?
                 B: Well, I tried it once, but I was really bad at it. The instructor said I had two left feet.
                 ครูอ่านออกเสียงบทสนทนาบนกระดานและให้นักเรียนอ่านออกเสียงตาม จากนั้นให้นักเรียนจับคู่กับเพื่อนแล้วพูดโต้ตอบตามบทสนทนาบนกระดาน
      กิจกรรมเสริมทักษะ/ประสบการณ์ทางภาษา
      - ครูให้นักเรียนทำกิจกรรม Writing A-C ในหนังสือแบบฝึกหัด หน้า 5
      นักเรียนประเมินตนเอง
      -  นักเรียนทำแบบประเมิน Self-Evaluation เพื่อประเมินตนเองเกี่ยวกับเนื้อหาที่ได้เรียนไปแล้ว (แบบประเมิน Unit 1 Self-Evaluation ท้ายเล่ม)
      -  ครูให้นักเรียนทำ Unit Test, Unit 1
      สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
      1.     หนังสือเรียน Time Zones 2 หน้า 4-11
      2.     หนังสือแบบฝึกหัด Time Zones 2 หน้า 2-5
      3. ซีดีบันทึกเสียง
      4. เครื่องเล่นซีดี
      5. สื่ออิเล็กทรอนิกส์
         - http://en.wikipedia.org/wiki/Capoeira
         -  http://en.wikipedia.org/wiki/taekwondo






















การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดการเรียนรู้
หน่วยการเรียนรู้ที่  1
ชื่อหน่วย   What do you like to do?

                  3   ห่วง
                   พอเพียง

ประเด็น
ความพอประมาณ
ความมีเหตุผล
การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
1. เนื้อหา
กำหนดเนื้อหาได้สอดคล้องกับมาตรฐานตัวชี้วัด และเหมาะสมกับเวลา วัย ความสามารถของนักเรียน
เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ตรงตามมาตรฐานและตัวชี้วัด ครบถ้วนตามกระบวนการ
-ลำดับเนื้อหาจากง่ายไปหายาก เพื่อให้นักเรียนเข้าใจง่าย
-เตรียมเนื้อหาในการเรียนรู้ให้ครอบคลุมตามมาตรฐานและตัวชี้วัด
2.เวลา
กำหนดเวลาได้เหมาะสมกับเนื้อหา และกิจกรรมการเรียนรู้
-เพื่อให้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ครบถ้วนตามที่กำหนด
-ส่งเสริมให้นักเรียนทำกิจกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ
-มีการจัดสรรเวลาเพิ่มสำหรับนักเรียนที่ไม่สามารถปฏิบัติกิจกรรมได้ตามขั้นตอน
3.การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ได้เหมาะสมสำหรับการพานักเรียนสู่เป้าหมาย
เพื่อให้นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานและตัวชี้วัด
เตรียมกิจกรรมเพื่อรองรับปัญหา
4.สื่อ/แหล่งเรียนรู้
เลือกสื่อและแหล่งเรียนรู้ได้เหมาะสมกับกิจกรรม และความสนใจของนักเรียน
-ส่งเสริมให้นักเรียนเข้าใจในบทเรียนได้ง่าย
-ส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน
กำหนดข้อตกลงในการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้
5. การวัดและประเมินผล
ออกแบบการวัดผลที่เหมาะสมและเที่ยงตรง
เพื่อประเมินนักเรียนให้ได้ผลตรงตามที่ต้องการรู้และได้ผลที่ตรง
มีเกณฑ์การวัดผลประเมินที่ชัดแจน
ความรู้
-มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
-การคัดเลือกเนื้อหาที่จะสอน
-การค้นหาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ 
-การวัดผลและประเมินผล

คุณธรรม
-ความเพียรพยายาม
-ความอดทน
-ความเสียสละ