หน่วยการเรียนรู้ที่
1
ชื่อหน่วย What do you like to do?
รายวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน (อ22101) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
เรื่องหลัก/หัวเรื่อง Hobbies and Interests เวลา 10
ชั่วโมง
สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
|
สาระที่ 1 :
ภาษาเพื่อการสื่อสาร
มาตรฐาน ต 1.1 ม.2/2, ต 1.1
ม.2/3, ต 1.1 ม.2/4, ต 1.2 ม.2/1, ต 1.2 ม.2/4
สาระที่ 2 : ภาษาและวัฒนธรรม
มาตรฐาน ต 2.1 ม.2/2, ต 2.2 ม.2/1
สาระที่ 4 : ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก
มาตรฐาน ต 4.1 ม.2/1
2. ความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
สุขศึกษาและพลศึกษา; สังคมศึกษา
ศาสนา และวัฒนธรรม; การงานอาชีพและเทคโนโลยี
3. ความรู้
- คำศัพท์
กิจกรรม Preview
- comic book (n.): a magazine, especially for children, which contains a set of
stories told in pictures with a small amount of writing (หนังสือการ์ตูน)
- action figure (n.): a doll which is made to look like a soldier or a character from a
film or television show (หุ่นจำลองจัดท่าได้)
กิจกรรม Communication
- take turn (v.): When a number of people take turns, they do the same thing one
after the other (ผลัดกัน)
- marker (n.): a
small round colored object that you use in a board game (หมากเดินบนกระดานเกม)
- browse (v.): to search for information on a computer or on the Internet (ค้นหาข้อมูลทางคอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ต)
กิจกรรม Reading
-
article (n.): a piece of writing on a particular subject in a newspaper
or magazine (บทความ)
- circle (n.): a group of people or things arranged in the shape of a circle (การล้อมวงกลม)
- fighter (n.): someone
who fights (นักสู้)
- self-respect (n.): respect for yourself which shows that you value yourself (การเคารพตัวเอง)
กิจกรรม Comprehension
- teenager (n.): a
young person between 13 and 19 years old (วัยรุ่น)
- sandal (n.): a
light shoe, especially worn in warm weather, consisting of a bottom part held
onto the foot by straps (รองเท้าแตะ)
กิจกรรม Writing
- reply (v.): to answer someone by
saying or writing something (ตอบ)
กิจกรรม The Real World
- e-pal (n.): a person that
you make friends with by sending emails, often somebody
you have never met (เพื่อนทางอีเมล)
- according to: as stated or reported by
somebody/something (ตามที่)
- poll (n.): the process of
questioning people who are representative of a larger group in order to get
information about the general opinion
(การสำรวจความเห็น)
(การสำรวจความเห็น)
- สำนวนภาษา
กิจกรรม Conversation
- That’s OK.: No,
thanks. / I don’t want to bother you. (ไม่เป็นไรครับ/ค่ะขอบคุณ
หรืออีกความหมายหนึ่งคือไม่ขอรบกวนครับ/ค่ะ)
กิจกรรม The Real World
- He has two
left feet.: He can’t dance. (เขาเต้นรำไม่เป็น)
- ข้อมูลด้านวัฒนธรรม
กิจกรรม Preview
- Martial arts
Martial
arts คือศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว ซึ่งจัดเป็นกีฬาประเภทหนึ่ง martial arts
เป็นศิลปะการต่อสู้ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมของชาวเอเชียเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มี martial arts ที่มาจากวัฒนธรรมทางศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของประเทศอื่น เช่น Savate คือมวยของประเทศฝรั่งเศส
Krav Maga คือวิธีการต่อสู้ป้องกันตัวของประเทศอิสราเอล และ Capoeira
คือศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของประเทศบราซิลที่ผสมผสานการต่อสู้
การเต้นรำ ดนตรี กายกรรม และปรัชญาเข้าด้วยกัน
- Karate
Karate อ่านว่า kah-rah-teh เป็น martial art ของประเทศญี่ปุ่น Karate หมายความว่า มือเปล่า เป็นการต่อย เตะ และฟาดด้วยมือเปล่า
- Action figure
Action figure
คือหุ่นจำลองจัดท่าได้ สร้างขึ้นมาจากตัวละครในบันเทิงคดี
หุ่นจำลองเหล่านี้ใช้เป็นของเล่นและเป็นสิ่งสะสม คำว่า action figure กำหนดขึ้นโดยบริษัทของเล่น Hasbro ในปี ค.ศ. 1964
เพื่อใช้ในการส่งเสริมการตลาดหุ่นจำลองทหาร G.I Joe ที่จัดท่าได้ โดยทางบริษัทใช้ข้อมูลพื้นฐานจากความจริงที่ว่าโดยปกติแล้วแขนและขาของหุ่นจำลองจะต้องสามารถเคลื่อนไหวได้นั่นเอง
กิจกรรม Do you know?
- ทีมวอลเล่ย์บอล
เมื่อปี ค.ศ. 1895 William Moran
ได้คิดค้นกีฬาวอลเล่ย์บอลขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยทีมวอลเล่ย์บอลหนึ่งทีมประกอบด้วยผู้เล่นจำนวน
6 คน มีผู้เล่น 3 คนยืนอยู่ด้านหน้าและอีก 3 คนยืนอยู่ด้านหลัง
มีข้อมูลว่าปัจจุบันผู้คนทั่วโลกประมาณ 800 ล้านคนเล่นกีฬาวอลเล่ย์บอลสัปดาห์ละ 1
ครั้ง
- Taekwondo
Taekwondo ออกเสียงว่า The-kwan-doh
เป็น martial art ของประเทศเกาหลีหลายพันปีมาแล้ว
Taekwondo
ผสมผสานจิตใจที่นิ่งสงบกับการเคลื่อนไหวทางร่างกายไปพร้อมกัน
โดยมุ่งเน้นการมีชีวิตอยู่บนโลกอย่างกลมกลืน
ทั้งนี้มีความเชื่อกันว่าผู้คนทั่วโลกฝึก Taekwando มากกว่าศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวประเภทอื่น
ๆ
กิจกรรม Reading
- Capoeira
Capoeira อ่านออกเสียงว่า
kah-poh-air-rah คือศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวทาง Afro-Brazilian เป็นการผสมผสานศิลปะการป้องกันตัว ดนตรี และการเต้นรำเข้าด้วยกัน
ต้นกำเนิดและจุดประสงค์ที่
แน่ชัดของการสืบทอดลีลาท่าทาง ศิลปะการป้องกันตัว และดนตรีของคาโปเอร่ายังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ รายงานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับคาโปเอร่าจำนวนมากระบุว่าศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวนี้ได้รับการพัฒนามาจากพวกทาสทวีปแอฟริกาในช่วงหลังศตวรรษที่ 16 ซึ่งใช้เป็นหนึ่งในวิธีการถ่ายทอดวัฒนธรรมและทักษะการต่อสู้ของคนแอฟริกันอย่างลับ ๆ การฝึกซ้อมนี้เคยเป็นสิ่งต้องห้าม อย่างไรก็ตามผู้คนในประเทศบราซิลฝึกซ้อมคาโปเอร่าและพัฒนารูปแบบเรื่อยมาดังที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน
แน่ชัดของการสืบทอดลีลาท่าทาง ศิลปะการป้องกันตัว และดนตรีของคาโปเอร่ายังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ รายงานทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับคาโปเอร่าจำนวนมากระบุว่าศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวนี้ได้รับการพัฒนามาจากพวกทาสทวีปแอฟริกาในช่วงหลังศตวรรษที่ 16 ซึ่งใช้เป็นหนึ่งในวิธีการถ่ายทอดวัฒนธรรมและทักษะการต่อสู้ของคนแอฟริกันอย่างลับ ๆ การฝึกซ้อมนี้เคยเป็นสิ่งต้องห้าม อย่างไรก็ตามผู้คนในประเทศบราซิลฝึกซ้อมคาโปเอร่าและพัฒนารูปแบบเรื่อยมาดังที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน
- Street children
Street children
เป็นคำใช้เรียกบรรดาเด็กที่อาศัยหรือทำงานตามท้องถนน เด็กเหล่านี้ซึ่งโดยปกติแล้วไม่มีครอบครัว
หรือขาดความสัมพันธ์กับครอบครัว มักอาศัยอยู่ตามท้องถนน
บางคนนอนในกล่องกระดาษใต้สะพาน ในสวนสาธารณะ ในตึกร้าง หรือในเพิงชั่วคราว
- Salvador
Salvador มีชื่อเป็นทางการว่า Sao
Salvador da Baia de Todos os Santos เมืองนี้เป็นศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์นับตั้งแต่ศตวรรษที่
17 จนถึงศตวรรษที่ 19 ทำให้ Salvador
เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว
อย่างไรก็ตามเชื่อกันว่ามีเด็กยากจนมากกว่า 16,000 คน
ที่อาศัยอยู่ตามท้องถนนของ Salvador
เด็กหลายคนก่ออาชญากรรมและถูกฆ่าตายอย่างน้อยปีละ 100 คน องค์กร the Axe Project จึงเข้ามาช่วยเหลือเด็กข้างถนนเหล่านี้รวมทั้งครอบครัวของพวกเขา
- The Axe Project
องค์กร the Axe Project ในประเทศบราซิล
ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1990 องค์กรนี้ไม่ใช่องค์กรของรัฐ
มีหน้าที่ช่วยเหลือเด็กและวัยรุ่นที่มีฐานะยากจน โดยจัดการศึกษาให้แก่เด็กที่อาศัยอยู่ตามท้องถนนในเมือง Salvador
อีกทั้งจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์และกิจกรรมทางวัฒนธรรม เช่น กิจกรรมการฝึกศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวคาโปเอร่า (Capoeira) ซึ่งเด็กเหล่านี้สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
การรู้จักตนเองและการนับถือตนเอง
กิจกรรม The Real World
- ข้อควรระวังในการใช้
“He has two left feet.”
การพูดถึงบุคคลหนึ่งว่า “He has two left
feet.” เปรียบเสมือนกับการพูดว่าบุคคลนั้นเป็นคนงุ่มง่าม และเซ่อซ่า
การพูดลักษณะเช่นนี้สามารถเป็นการพูดที่ดูถูกบุคคลนั้นได้
ดังนั้นการจะนำสำนวนนี้ไปใช้จึงควรนำไปใช้อย่างระมัดระวัง
- หน้าที่ภาษา
- Talking
about schedules and activities
- Talking
about frequency
- Changing
the subject
- โครงสร้างประโยค/ไวยากรณ์
- like to + verb
- Wh-question: How
often
- Simple Present Tense
4. ทักษะ/กระบวนการ
- ทักษะเฉพาะวิชา
การฟัง :
การฟังเพื่อหารายละเอียด
การพูด :
การพูดเพื่อขอและให้ข้อมูล
การอ่าน :
การอ่านออกเสียง การอ่านเพื่อหารายละเอียด
การเขียน :
การเขียนบรรยาย
- ทักษะคร่อมวิชา
การสื่อสาร กระบวนการกลุ่ม
5. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
ความสามารถในการสื่อสาร การคิด
การใช้เทคโนโลยี
6. คุณลักษณะอันพึงประสงค์
รู้จัก
เข้าใจ มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน และภูมิใจในตนเอง
: บอกชื่องานอดิเรกหรือกิจกรรมที่ตนเองสนใจทำได้
7. ความเข้าใจที่ยั่งยืน
นักเรียนเข้าใจว่าการสื่อสารข้อมูลเรื่องงานอดิเรกและกิจกรรมที่สนใจทำในเวลาปัจจุบันต้องใช้โครงสร้างประโยค
Simple
Present Tense
8. สิ่งที่นักเรียนเรียนรู้และปฏิบัติได้
1. ระบุรายละเอียดในบทสนทนาที่ฟังเกี่ยวกับงานอดิเรกและกิจกรรมที่บุคคลในบทสนทนาสนใจทำได้
(ต 1.1 ม.2/4)
(ต 1.1 ม.2/4)
2. พูดขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับกีฬาที่สนใจเล่นได้ (ต 1.2 ม.2/1, ต 4.1 ม.2/1)
3. อ่านออกเสียงบทสนทนาเกี่ยวกับงานอดิเรกได้ถูกต้องตามหลักการอ่าน
(ต 1.1 ม.2/2)
4. พูดเปรียบเทียบและอธิบายความเหมือนและความแตกต่างระหว่างการลำดับคำตามโครงสร้างประโยคของภาษาอังกฤษและภาษาไทยได้
(ต 2.2 ม.2/1)
5. พูดขอและให้ข้อมูลตารางเวลาความถี่ของการทำงานอดิเรกได้ (ต 1.2 ม.2/1, ต 4.1 ม.2/1)
6. บอกรายละเอียดของบทความที่อ่านเกี่ยวกับศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวได้
(ต 1.1 ม.2/4, ต 2.1 ม.2/2)
7. เขียนอีเมลบรรยายงานอดิเรกและกิจกรรมที่ตนเองสนใจทำได้
(ต 1.2 ม.2/4)
8. พูดขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับกราฟข้อมูลกิจกรรมที่สนใจทำเป็นงานอดิเรกได้
(ต 1.1 ม.2/3, ต 1.2 ม.2/4,
ต 4.1 ม.2/1)
หลักฐานการเรียนรู้
1. ผลงานปฏิบัติ/ชิ้นงาน
1. คำตอบที่ได้จากการตอบคำถามบทสนทนาที่ฟังเกี่ยวกับงานอดิเรกและกิจกรรมที่บุคคลในบทสนทนาสนใจทำในกิจกรรม
Preview A-B
2. ถ้อยคำพูดขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับกีฬาที่สนใจเล่นในกิจกรรม Preview C
3. ถ้อยคำอ่านออกเสียงบทสนทนาเกี่ยวกับงานอดิเรกที่ถูกต้องตามหลักการอ่านในกิจกรรม
Conversation
B
4. ถ้อยคำเปรียบเทียบและอธิบายความเหมือนและความแตกต่างระหว่างการลำดับคำตามโครงสร้าง
ประโยคของภาษาอังกฤษและภาษาไทยในกิจกรรม Language Focus
5. ถ้อยคำพูดขอและให้ข้อมูลตารางเวลาความถี่ของการทำงานอดิเรกในกิจกรรม Communication
6. คำตอบที่ได้จากการตอบคำถามบทความที่อ่านเกี่ยวกับศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวในกิจกรรม
Comprehension
A-B
7. ข้อเขียนอีเมลบรรยายงานอดิเรกและกิจกรรมที่ตนเองสนใจทำในกิจกรรม
Writing
8. ถ้อยคำพูดขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับกราฟข้อมูลกิจกรรมที่สนใจทำเป็นงานอดิเรกในกิจกรรม
The Real
World B
2. การวัดผลและประเมินผล
1. ประเมินความสามารถในการระบุรายละเอียดในบทสนทนาที่ฟังเกี่ยวกับงานอดิเรกและกิจกรรมที่บุคคลในบทสนทนาสนใจทำในกิจกรรม
Preview A-B จากจำนวนคำตอบที่ตอบถูกต้องและใช้เกณฑ์ผ่าน
ร้อยละ 60
ร้อยละ 60
2. ประเมินความสามารถในการพูดขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับกีฬาที่สนใจเล่นในกิจกรรม
Preview C โดยใช้แบบประเมินการสนทนากิจกรรมคู่และใช้เกณฑ์ผ่านระดับพอใช้
3. ประเมินความสามารถในการอ่านออกเสียงบทสนทนาเกี่ยวกับงานอดิเรกในกิจกรรม Conversation B โดยใช้แบบประเมินการอ่านออกเสียงและใช้เกณฑ์การผ่านระดับพอใช้
4. ประเมินความสามารถในพูดเปรียบเทียบและอธิบายความเหมือนและความแตกต่างระหว่างการลำดับคำตามโครงสร้างประโยคภาษาอังกฤษและภาษาไทยในกิจกรรม
Language
Focus โดยใช้เกณฑ์การประเมินการนำเสนอและใช้เกณฑ์ผ่านระดับพอใช้
5. ประเมินความสามารถในการพูดขอและให้ข้อมูลตารางเวลาความถี่ของการทำงานอดิเรกในกิจกรรม
Communication โดยใช้เกณฑ์การประเมินความสามารถในการสนทนาและใช้เกณฑ์ผ่านระดับพอใช้
6. ประเมินความสามารถในการบอกรายละเอียดของบทความที่อ่านเกี่ยวกับศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวในกิจกรรม
Comprehension
A-B จากจำนวนคำตอบที่ตอบถูกต้องและใช้เกณฑ์ผ่านร้อยละ 60
7. ประเมินความสามารถในการเขียนอีเมลบรรยายงานอดิเรกและกิจกรรมที่ตนเองสนใจทำในกิจกรรม
Writing
โดยใช้เกณฑ์การประเมินการเขียนจดหมาย/อีเมลส่วนตัวและใช้เกณฑ์ผ่านระดับพอใช้
8. ประเมินความสามารถในการพูดขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับกราฟข้อมูลกิจกรรมที่สนใจทำเป็นงานอดิเรกในกิจกรรม
The Real
World B โดยใช้เกณฑ์การประเมินความสามารถในการสนทนาและใช้เกณฑ์ผ่านระดับพอใช้
หลักฐานอื่นๆ
- ผลการทำกิจกรรมคู่
- ผลการทำกิจกรรมกลุ่ม
- ผลการทำแบบฝึกหัดในหนังสือเรียนและหนังสือแบบฝึกหัด
นักเรียนประเมินตนเอง
- นักเรียนประเมินการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
โดยใช้แบบประเมิน Unit
1 Self-Evaluation
กิจกรรมการเรียนรู้
บทเรียนย่อยที่ 1
เวลา 3 ชั่วโมง
สิ่งที่นักเรียนเรียนรู้และปฏิบัติได้
1. ระบุรายละเอียดในบทสนทนาที่ฟังเกี่ยวกับงานอดิเรกและกิจกรรมที่บุคคลในบทสนทนาสนใจทำได้
(ต 1.1 ม.2/4)
(ต 1.1 ม.2/4)
2. พูดขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับกีฬาที่สนใจเล่นได้
(ต 1.2 ม.2/1, ต 4.1 ม.2/1)
3. อ่านออกเสียงบทสนทนาเกี่ยวกับงานอดิเรกได้ถูกต้องตามหลักการอ่าน
(ต 1.1 ม.2/2)
กิจกรรมการเรียนรู้
กิจกรรม Overview
1. แนะนำหัวข้อเรื่องหลัก
People and
Places
- ครูให้นักเรียนเปิดหนังสือเรียน
หน้า 2-3 แล้วอ่านออกเสียงหัวข้อเรื่องหลัก People
and Places พร้อมกับให้นักเรียนอ่านตามในใจ
จากนั้นให้นักเรียนดูภาพบุคคลกับสถานที่ในหนังสือเรียนหน้าเดิม ครูถามนักเรียนว่า What
do you see in the pictures? ซึ่งนักเรียนน่าจะตอบว่าเห็นผู้คนและสถานที่
- ครูบอกนักเรียนว่าหัวข้อเรื่องหลัก
People and Places ประกอบด้วยหน่วยการเรียนรู้ 3
หน่วยและหน่วยการเรียนรู้ World Explorer 1
- ครูอ่านออกเสียงข้อความบอกสิ่งที่นักเรียนจะต้องสามารถปฏิบัติได้หลังจากที่เรียนจบหน่วยการเรียนรู้ทั้ง
3 และหน่วยการเรียนรู้ World Explorer 1 พร้อมกับให้นักเรียนอ่านตามในใจ
จากนั้นครูบอกนักเรียนว่าหน่วยการเรียนรู้นี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่
และสิ่งที่นักเรียนต้องสามารถปฏิบัติได้มีดังนี้
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
นักเรียนต้องสามารถพูดเกี่ยวกับงานอดิเรกและกิจกรรมที่ตนเองสนใจทำได้
อีกทั้งสามารถพูดบรรยายตารางเวลาการทำกิจกรรมของตนเองได้
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 นักเรียนต้องสามารถพูดบรรยายลักษณ์ของบุคคลได้
อีกทั้งสามารถอ่านบทความเกี่ยวกับเรื่องหน้ากากเข้าใจ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
นักเรียนต้องสามารถพูดขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับทิศทางได้
อีกทั้งสามารถพูดให้ข้อมูลสถานที่รอบเมืองได้
หน่วยการเรียนรู้ World Explorer 1
นักเรียนต้องสามารถทำกิจกรรมทางภาษาเพื่อทบทวนสิ่งที่เรียนรู้จากหน่วยการเรียนรู้ที่
1-3 ได้
กิจกรรม Preview
1. แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้
- ครูให้นักเรียนอ่านออกเสียงชื่อหน่วยการเรียนรู้ที่
1 เรื่อง What do you like to do? ในหนังสือเรียน หน้า 4
และให้นักเรียนดูภาพบุคคลที่กำลังทำกิจกรรมต่าง ๆ ในหนังสือเรียน หน้า 4-5 จากนั้นตรวจสอบความรู้เดิมของนักเรียนเกี่ยวกับกิจกรรมที่บุคคลในภาพกำลังทำอยู่
โดยถามนักเรียนดังนี้ What are the people doing?
- ครูให้นักเรียนคาดเดาเกี่ยวกับเรื่องที่นักเรียนจะได้เรียนรู้จากหน่วยการเรียนรู้ที่
1 โดยครูถามนักเรียนว่า What
do you think this unit is about?
- ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนบอกคำตอบอย่างอิสระสักครู่หนึ่งจนกว่าครูจะได้คำตอบว่า
Hobbies หรือ Interests ครูเขียนคำว่า Hobbies and
interests บนกระดาน แล้วบอกนักเรียนว่า hobbies เป็นรูปคำนามพหูพจน์ของคำว่า hobby
ซึ่งมีความหมายว่า งานอดิเรก ส่วนคำว่า interests
เป็นรูปคำนามพหูพจน์ของคำว่า interest ซึ่งมีความหมายว่า
กิจกรรมที่สนใจทำ
- ครูอธิบายว่าเมื่อเรียนจบบทเรียนนี้แล้วนักเรียนจะต้องสามารถระบุรายละเอียดในบทสนทนาที่ฟังเกี่ยวกับงานอดิเรกและกิจกรรมที่บุคคลในบทสนทนาสนใจทำ
อ่านออกเสียงบทสนทนาเกี่ยวงานอดิเรกได้ถูกต้องตามหลักการอ่าน อีกทั้งสามารถพูดขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับกีฬาที่สนใจเล่นได้
2. พัฒนาคำศัพท์
- ครูอ่านออกเสียงวลีที่บรรยายการทำงานอดิเรกและประเภทของงานอดิเรกในกรอบข้อความสีชมพูและสีขาวใต้ภาพในหนังสือเรียน
หน้า 4-5 พร้อมกับให้นักเรียนอ่านตามในใจ
- ครูให้นักเรียนบอกความหมายของวลีที่ครูอ่านไปเมื่อสักครู่โดยใช้ภาพเป็นบริบท
จากนั้นครูช่วยสรุปความหมายของคำศัพท์ให้แก่นักเรียน
- ครูให้นักเรียนบอกความสัมพันธ์ระหว่างวลีในกรอบข้อความสีชมพูกับกรอบข้อความสีขาวโดยใช้ภาพเป็นบริบท
จากนั้นครูสรุปว่าข้อความในกรอบสีชมพูคือประเภทของงานอดิเรก
ส่วนข้อความในกรอบสีขาวคือกิจกรรมแต่ละประเภทของงานอดิเรก เช่น
• ภาพที่
1 คือกิจกรรมวาดภาพ (draw) เป็นกิจกรรมหนึ่งของประเภทการทำงานศิลปะ (make art)
• ภาพที่
2 คือกิจกรรมฝึกคาราเต้ (do karate)
เป็นกิจกรรมหนึ่งของประเภทการฝึกศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว (practice
martial arts) ครูอธิบายข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ karate และ martial arts (ดูข้อมูลด้านวัฒนธรรม)
• ภาพที่
3 คือกิจกรรมสะสมหุ่นจำลองจัดท่าได้ (collect action figures)
เป็นกิจกรรมหนึ่งของประเภทการสะสมสิ่งของ (collect things) ครูอธิบายข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ
action figures (ดูข้อมูลด้านวัฒนธรรม)
• ภาพที่
4 คือกิจกรรมเล่นวอลเลย์บอล (play volleyball)
เป็นกิจกรรมหนึ่งของประเภทการเล่นกีฬา (play sports)
• ภาพที่
5 คือกิจกรรมเล่นกีตาร์ (play
the guitar) เป็นกิจกรรมหนึ่งของประเภทการเล่นดนตรี (play an
instrument)
- ครูเขียนหัวข้อประเภทของงานอดิเรกบนกระดานดังนี้
sports, musical instruments, kinds of art และ things
people might collect จากนั้นให้นักเรียนช่วยกันบอกกิจกรรมการทำงานอดิเรกอื่น
ๆ ที่สัมพันธ์กับหัวข้อประเภทของงานอดิเรกดังกล่าว ครูเขียนสิ่งที่นักเรียนบอกบนกระดาน
3. ฟังบทสนทนาเกี่ยวกับงานอดิเรกของบุคคลในภาพ
กิจกรรมก่อนฟัง
- ครูอ่านออกเสียงคำสั่งกิจกรรม Preview A ในหนังสือเรียน
หน้า 4 พร้อมกับให้นักเรียนอ่านตามในใจ
จากนั้นอธิบายให้นักเรียนฟังว่ากิจกรรมนี้นักเรียนจะได้ฟังบทสนทนาสั้น ๆ จำนวน 5
บท ซึ่งบุคคลในบทสนทนาจะพูดขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับงานอดิเรก
จากนั้นให้นักเรียนเขียนชื่อของบุคคลทั้ง 5
คนลงในแต่ละภาพซึ่งตรงกับงานอดิเรกที่บุคคลนั้นสนใจทำ
-
ครูอ่านออกเสียงชื่อของบุคคลทั้ง
5 คนในกิจกรรม Preview
A ซึ่งได้แก่ Amy, Pablo, Daniel, Matt และ Sarah
พร้อมกับให้นักเรียนอ่านตามในใจ
- ครูเขียนคำศัพท์และสำนวนในบทสนทนาที่คาดว่านักเรียนไม่รู้ความหมายบนกระดาน
แล้วบอกความหมายของคำเหล่านั้นแก่นักเรียน ได้แก่ introduce (แนะนำ);
also (อีกด้วย); ourselves
(ด้วยตัวของพวกเราเอง); comics (ตัวการ์ตูน); wow (คำอุทานแสดงความประหลาดใจ); own (ของตัวเอง); That’s cool. (เยี่ยมมาก); Really?
(จริงหรือ); That’s right. (ถูกต้อง); That’s great. (เยี่ยมมาก) และ You go first. (เชิญคุณก่อน)
- ครูให้นักเรียนคาดเดาคำตอบก่อนฟังบทสนทนาว่าบุคคลใดน่าจะสนใจทำงานอดิเรกประเภทใด
ครูเขียนสิ่งที่นักเรียนบอกบนกระดาน
กิจกรรมระหว่างฟัง
- ครูเปิดซีดีบันทึกเสียง (CD1, Track 1) ให้นักเรียนฟังบทสนทนา 4 รอบ
รอบแรกครูให้นักเรียนฟังบทสนทนาทั้งหมดเพื่อจับความโดยรวมว่าบุคคลใดสนใจทำงานอดิเรกประเภทใด
รอบที่ 2 ครูให้นักเรียนฟังเพื่อตรวจสอบคำตอบที่นักเรียนได้คาดเดาไว้ก่อนหน้านี้บนกระดาน
รอบที่ 3 ครูหยุดซีดีบันทึกเสียงทุกครั้งที่จบแต่ละบทสนทนา
เพื่อให้นักเรียนเติมชื่อของบุคคลลงใต้ภาพ และรอบที่ 4
ครูให้นักเรียนฟังเพื่อแก้ไขคำตอบ
- ครูให้นักเรียนร่วมกันเฉลยคำตอบพร้อมกันทั้งชั้นเรียน
(ดูเฉลยท้ายเล่ม)
- ครูอ่านออกเสียงคำสั่งกิจกรรม Preview B ในหนังสือเรียน หน้า 4
แล้วอธิบายว่านักเรียนจะได้ฟังบทสนทนาเดิม
แต่ในครั้งนี้นักเรียนจะต้องฟังแล้วเลือกคำในกรอบข้อความในกิจกรรม Preview B มาเขียนลงในตารางให้ตรงตามหัวข้อที่กำหนดมาให้
- ก่อนที่ครูจะให้นักเรียนฟังบทสนทนา
ครูให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงคำศัพท์ในกรอบข้อความ และหัวข้อตารางในกิจกรรม Preview B
ครูเน้นย้ำว่าคำศัพท์ในกรอบข้อความบ่งบอกเกี่ยวกับสิ่งที่บุคคลในบทสนทนาสนใจทำ
ส่วนหัวข้อตารางเป็นคำศัพท์ที่บ่งบอกเกี่ยวกับประเภทของงานอดิเรก
- ครูให้นักเรียนฟังซีดีบันทึกเสียง (CD1, Track 1) จำนวน 2 รอบ
ในรอบแรกครูให้นักเรียนฟังเพื่อจับ-ความโดยรวมเกี่ยวกับประเภทของงานอดิเรกและสิ่งที่บุคคลในบทสนทนาสนใจทำ
และในรอบที่ 2 ครูให้นักเรียนฟังเพื่อเขียนคำตอบลงในตาราง
หลังจากนั้นครูให้นักเรียนเปรียบเทียบคำตอบกับเพื่อน
แล้วให้นักเรียนที่สมัครใจอ่านคำตอบให้แก่เพื่อนในชั้นเรียน (ดูเฉลยท้ายเล่ม)
- ครูประเมินความสามารถในการระบุรายละเอียดในบทสนทนาที่ฟังเกี่ยวกับงานอดิเรกและกิจกรรมที่บุคคลในบทสนทนาสนใจทำในกิจกรรม
Preview A-B จากจำนวนคำตอบที่ตอบถูกต้องและใช้เกณฑ์ผ่านร้อยละ 60
กิจกรรมหลังฟัง
- ครูให้นักเรียนจับคู่กับเพื่อนเพื่อทำกิจกรรม
Preview C ในหนังสือเรียน หน้า 4
ซึ่งเป็นกิจกรรมให้นักเรียนสลับกันพูดถามตอบข้อมูลเกี่ยวกับกีฬาที่ตนเองสนใจเล่น
- ครูเริ่มต้นด้วยการสาธิตวิธีการทำกิจกรรมให้แก่นักเรียน
โดยครูเลือกนักเรียนคนหนึ่งให้เป็นคู่สนทนาของครูแล้วสลับกันพูดถามตอบข้อมูลเกี่ยวกับกีฬาตามบทสนทนาที่กำหนดมาให้ในกิจกรรม
Preview C หลังจากนั้นสลับกันพูดถามตอบอีกครั้ง
แต่เปลี่ยนจากข้อมูลกีฬาที่กำหนดมาให้เป็นข้อมูลกีฬาที่ครูและนักเรียนสนใจเล่น
- ครูอธิบายรูปประโยคในกิจกรรม
Preview C ว่าประโยคคำถาม Do you like to play sports?
เป็นประโยคคำถามใช้ถามคู่สนทนาว่าชอบเล่นกีฬาหรือไม่ ซึ่งคำตอบคือ yes หรือ no ส่วนประโยคคำถาม What sports do you
play? เป็นประโยคคำถามใช้ถามคู่สนทนาว่าชอบเล่นกีฬาประเภทใด
ดังนั้นคำตอบจึงต้องเป็นชื่อกีฬา เช่น I play soccer.
- ครูให้นักเรียนดูคำว่า
to play ในประโยคคำถาม Do you like to play sports? อีกครั้ง
จากนั้นอธิบายว่าประโยคคำถามข้อนี้แตกต่างจากประโยคคำถาม Do you like
sports? เนื่องจากประโยคคำถาม Do you like sports?
เป็นคำถามที่ถามครอบคลุมถึงความชอบกีฬาไม่ว่าจะเป็นการเล่น การชม การอ่านข่าวหรือบทความกีฬา หรือการสนทนาหัวข้อเรื่องกีฬา
- ครูให้นักเรียนทั้งชั้นเรียนช่วยกันบอกชื่อกีฬาที่นักเรียนรู้จักเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพูดสนทนากับเพื่อนในกิจกรรม
Preview C ครูเขียนชื่อกีฬาที่นักเรียนบอกบนกระดาน ซึ่งอาจมีชื่อกีฬาดังนี้ badminton,
volleyball, basketball, boxing, golf, futsal, wresting และ
table tennis เป็นต้น
- ครูให้นักเรียนทำกิจกรรม
Preview C ครูเดินสำรวจการทำกิจกรรมของนักเรียน
เมื่อนักเรียนทำกิจกรรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ครูสุ่มเรียกนักเรียนบางคู่ออกมานำเสนอการสนทนาที่หน้าชั้นเรียน
- ครูประเมินความสามารถในการพูดขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับกีฬาที่สนใจเล่นในกิจกรรม
Preview C โดยใช้แบบประเมินการสนทนากิจกรรมคู่และใช้เกณฑ์ผ่านระดับพอใช้
กิจกรรม Conversation
1. อ่านออกเสียงบทสนทนา
- ครูให้นักเรียนดูภาพสถานการณ์ของบทสนทนาในหนังสือเรียน
หน้า 5 แล้วให้นักเรียนตอบคำถามเกี่ยวกับภาพดังนี้
T: Where are
the boy and the girl in the first exchange?
Ss: They are
in front of their school.
T: Where are
they going?
Ss: They are
going to the girl’s house.
T: What is
she doing in the third exchange?
Ss: She is
playing the guitar.
T: What is
she doing in the fourth exchange?
Ss: She is
singing.
T: How does
the boy feel in the third and the fourth exchanges?
Ss: He is not
happy with her performances.
T: How does
the girl feel in the third and the fourth exchanges?
Ss: She is
happy with her activities.
- ครูบอกนักเรียนว่านักเรียนจะได้ฟังและอ่านออกเสียงบทสนทนาสั้น ๆ 4 บท
ระหว่าง Stig และ Maya ในกิจกรรม Conversation
A ในหนังสือเรียน หน้า 5
- ครูเปิดซีดีบันทึกเสียง
(CD1, Track
2) ให้นักเรียนฟังบทสนทนารอบแรก พร้อมกับให้นักเรียนอ่านตามในใจ
และในรอบที่ 2 ครูหยุดซีดีบันทึกเสียงทุกครั้งที่จบแต่ละบทสนทนาแล้วให้นักเรียนอ่านออกเสียงตาม
- ครูให้นักเรียนสังเกตคำว่า
can play ในบทสนทนาที่ 2 แล้วอธิบายให้นักเรียนฟังว่าโดยปกติแล้ว can เป็นคำที่ใช้เพื่อบอกถึงความสามารถ แต่ can ยังสามารถใช้เพื่อการเสนอความช่วยเหลือได้ด้วยเช่นกัน
ในบทสนทนาที่ 2 Maya ใช้คำว่า can
ในการเสนอที่จะเล่นกีตาร์ให้ Stig ฟัง ครูยกตัวอย่างโดยเขียนประโยค I can carry those books for you.
บนกระดาน และอธิบายว่าประโยคนี้ผู้พูดเสนอการช่วยถือหนังสือให้แก่คู่สนทนา
2. พูดเปลี่ยนหัวข้อเรื่อง
- ครูอธิบายสำนวน
That’s OK. ในกรอบ Real English
ในหนังสือเรียน หน้า 5 ดังนี้ สำนวน That’s OK.
นิยมใช้ในภาษาพูด มีความหมายว่า No, thanks.
เป็นการพูดเปลี่ยนหัวข้อเรื่องเพื่อปฏิเสธคู่สนทนาที่เสนอทำบางสิ่งบางอย่างให้แก่ตนอย่างสุภาพ
ครูยกตัวอย่างโดยเขียนบทสนทนาบนกระดานดังนี้
A: Would
you like some coffee?
B: That’s OK. ความหมายคือ No, thanks. หรือ I don’t want
to bother you.
ครูอธิบายต่อไปว่า That’s OK.
สามารถใช้ได้ในอีกสถานการณ์หนึ่งคือการพูดตอบคู่สนทนาเมื่อคู่สนทนากล่าวคำขอโทษกับตน
ซึ่งการใช้ That’s OK. ในสถานการณ์นี้จะมีความหมายว่า It’s
alright. หรือ I’m not angry.
ครูยกตัวอย่างโดยเขียนบทสนทนาบนกระดานดังนี้
A: I’m
sorry. I’m late.
B: That’s OK. ความหมายคือ Don’t worry about it.
- ครูอ่านออกเสียงบทสนทนาบนกระดานและให้นักเรียนอ่านออกเสียงตาม
จากนั้นให้นักเรียนจับคู่กับเพื่อนแล้วฝึกอ่านออกเสียงบทสนทนาบนกระดาน
ครูเดินสำรวจการทำกิจกรรมของนักเรียน
- ครูให้นักเรียนจับคู่กับเพื่อนเพื่อสลับกันรับบทบาทเป็น
Stig และ Maya ในกิจกรรม Conversation
B ในหนังสือเรียน หน้า 5 ในการสนทนารอบแรกให้สนทนาตามบทที่กำหนดมาให้
ครูให้นักเรียนสนทนาอีกครั้ง แต่ครั้งนี้ให้นักเรียนนำคำสีน้ำเงินในกรอบด้านล่างซ้ายมาแทนคำสีน้ำเงินในกรอบคำพูดในแต่ละบทสนทนา
- ครูให้นักเรียนทำกิจกรรม Conversation B จากนั้นให้นักเรียนออกมานำเสนอกิจกรรมที่หน้าชั้นเรียน
- ครูประเมินความสามารถในการอ่านออกเสียงบทสนทนาเกี่ยวกับงานอดิเรกในกิจกรรม
Conversation B โดยใช้แบบประเมินการอ่านออกเสียงและใช้เกณฑ์การผ่านระดับพอใช้
กิจกรรมเสริมทักษะ/ประสบการณ์ทางภาษา
- ครูให้นักเรียนทำกิจกรรม
Vocabulary
Focus และ Conversation ในหนังสือแบบฝึกหัด
หน้า 2
บทเรียนย่อยที่ 2 เวลา
2 ชั่วโมง
สิ่งที่นักเรียนเรียนรู้และปฏิบัติได้
1. พูดเปรียบเทียบและอธิบายความเหมือนและความแตกต่างระหว่างการลำดับคำตามโครงสร้างประโยคของภาษาอังกฤษและภาษาไทยได้
(ต 2.2 ม.2/1)
2. พูดขอและให้ข้อมูลตารางเวลาความถี่ของการทำงานอดิเรกได้
(ต 1.2 ม.2/1, ต 4.1 ม.2/1)
กิจกรรมการเรียนรู้
กิจกรรม Language Focus
1. แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้
- ครูให้นักเรียนเปิดหนังสือเรียน
หน้า 6-7
แล้วบอกนักเรียนว่าบทเรียนนี้นักเรียนจะได้เรียนรู้โครงสร้างประโยคคำถามและประโยคบอกเล่าเกี่ยวกับงานอดิเรกและกิจกรรมที่สนใจทำโดยใช้โครงสร้างประโยค
Simple
Present Tense, like to + verb และ Wh-question: How often และเมื่อเรียนจบบทเรียนนี้แล้วนักเรียนจะต้องสามารถพูดเปรียบเทียบและอธิบายความเหมือนและความแตกต่างระหว่างการลำดับคำตามโครงสร้างประโยคของภาษาอังกฤษและภาษาไทยได้
อีกทั้งพูดขอและให้ข้อมูลตารางเวลาความถี่ของการทำงานอดิเรกได้
2. เรียนรู้โครงสร้างประโยคคำถามและคำตอบเกี่ยวกับงานอดิเรกและกิจกรรมที่สนใจทำ
- ครูให้นักเรียนฟังซีดีบันทึกเสียง
(CD1, Track 3) ประโยคคำถามและคำตอบเกี่ยวกับงานอดิเรกและกิจกรรมที่สนใจทำในแผนภูมิกิจกรรม
Language Focus A ในหนังสือเรียน หน้า 6
- ครูอธิบายหลักการใช้
Simple
Present Tense โดยเขียนประโยคคำถามและคำตอบ 2
ประโยคแรกในแผนภูมิบนกระดานและขีดเส้นใต้ที่คำว่า do ดังนี้ What
do you like to do on weekdays / on weekends? และ Do
you like to play tennis? จากนั้นอธิบายให้นักเรียนฟังว่า do
ในประโยคคำถามทั้ง 2 ข้อทำหน้าที่เป็น Verb to do ซึ่งนักเรียนสามารถเปลี่ยนเป็นใช้ does
ได้ขึ้นอยู่กับประธาน ถ้าประธานเป็นเอกพจน์จะใช้ does แต่ถ้าประธานเป็นพหูพจน์จะใช้
do ครูเขียน he, she, it, you, they, I และ we และตารางที่มีหัวข้อ do กับ does บนกระดาน จากนั้นให้นักเรียนบอกว่า pronoun คำใดควรอยู่ในช่องหัวข้อ do หรือ does
Verbs to do
|
Pronouns
|
Do
|
|
Does
|
|
ครูเขียนสิ่งที่นักเรียนบอกบนกระดาน
จากนั้นเฉลยคำตอบดังนี้
Verbs to do
|
Pronouns
|
Do
|
you, they, I, we
|
Does
|
he, she, it,
|
ครูให้นักเรียนดูคำว่า do ตัวที่สองในประโยคคำถาม
What do you like to do on weekdays / on weekends? แล้วอธิบายว่า
do ในประโยคคำถามข้อนี้ทำหน้าที่เป็นคำกริยา (Verbs) ซึ่งเป็นคำที่ใช้บอกอาการกริยาต่าง ๆ ของบุคคลหรือสัตว์ ครูลบคำกริยา do
ตัวที่ 2 ในประโยค
แล้วเขียนคำกริยาอื่นลงไปในประโยคคำถามเพื่อเป็นการยกตัวอย่างให้แก่นักเรียนดังนี้
play
What do you like to watch on weekdays / on weekends?
eat
- ครูสรุปว่าการบอกเล่าเรื่องงานอดิเรกและกิจกรรมที่สนใจทำในปัจจุบันจะใช้โครงสร้างประโยค Simple Present Tense ซึ่งโครงสร้างประโยคคำถามแบบ Wh-Questions คือ Question
Word + Verb to do + Subject + Main verb เช่น What do you
like to do on weekends? ส่วนโครงสร้างประโยคคำถามแบบ Yes/No Questions คือ Verb to do + Subject +
Main verb เช่น Do you like to collect stamps? และโครงสร้างประโยคบอกเล่าคือ Subject + Main verb
เช่น I play soccer every day. และ He watches TV
every day. ครูอธิบายหลักการเติม s ที่คำกริยาในประโยคโครงสร้าง
Simple Present Tense
- ครูอธิบายหลักการใช้
like to +
verb โดยเริ่มต้นจากการอ่านออกเสียงประโยค I like to play
sports. ในแผนภูมิ แล้วอธิบายให้นักเรียนฟังว่าคำที่ตามหลัง like
to จะเป็นคำกริยาที่ไม่เติม -ing และจะไม่มีการเปลี่ยนรูปไม่ว่าประธานของประโยคจะเป็นคำนามพหูพจน์หรือเอกพจน์ก็ตาม
ครูเขียนประโยคตัวอย่างบนกระดานดังนี้
They like to collect stamps.
She likes to play the guitar.
- ครูอธิบายหลักการใช้
Wh-question:
How often โดยครูอ่านออกเสียงประโยคคำถาม How often does he
play? และคำตอบ He plays three times a week. ในแผนภูมิ
แล้วอธิบายให้นักเรียนฟังว่าคำถามข้อนี้ขึ้นต้นด้วย How often เป็นการถามความถี่ ดังนั้นคำตอบจึงตอบเป็นจำนวนครั้ง
ครูเขียนตัวอย่างการตอบของคำถามข้อนี้เพิ่มเติมบนกระดานดังนี้
once
He plays six times a
week.
twice
- ครูอ่านออกเสียงประโยคคำถาม
When do they play? และคำตอบ They play before/after
school. ในแผนภูมิ แล้วอธิบายว่าคำถามที่ขึ้นต้นด้วย When เป็นคำถามที่ต้องการคำตอบแบบ
ไม่เจาะจงเวลาที่ชัดเจน ดังนั้นคำตอบของคำถามข้อนี้จึงตอบเป็นวลี before/after school ซึ่งนักเรียนสามารถตอบโดยใช้วลีอื่นได้ เช่น in the afternoon หรือ in the morning
ไม่เจาะจงเวลาที่ชัดเจน ดังนั้นคำตอบของคำถามข้อนี้จึงตอบเป็นวลี before/after school ซึ่งนักเรียนสามารถตอบโดยใช้วลีอื่นได้ เช่น in the afternoon หรือ in the morning
- ครูให้นักเรียนดูด้านขวาของแผนภูมิแล้วอธิบายว่าคำที่ใช้บอกความถี่ในการทำกิจกรรม
จำนวนหนึ่งครั้งคือ once
จำนวน 2 ครั้งคือ twice จำนวน 3 ครั้งคือ three
times แต่ทางวิชาคณิตศาสตร์ times มีความหมายว่า
คูณ เช่น 2 X 3 = 6 อ่านว่า Two times three equals six.
3. ตรวจสอบความเข้าใจ
- ครูตรวจสอบความเข้าใจหลักการใช้
Simple
Present Tense และการใช้ like to + verb โดยให้นักเรียนทำกิจกรรม
Language Focus B ในหนังสือเรียน หน้า
6 ซึ่งให้นักเรียนเติมคำลงในช่องว่างข้อ 2-6 ให้สมบูรณ์ จากนั้นจับคู่คำถามข้อ 2-6
ให้สัมพันธ์กับคำตอบข้อ a-f
- เมื่อนักเรียนทำกิจกรรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ครูให้นักเรียนเปรียบเทียบกับเพื่อนคำตอบโดยให้นักเรียนสลับกันอ่านประโยคคำถามและคำตอบของตน
จากนั้นให้นักเรียนที่สมัครใจอ่านคำตอบในชั้นเรียน (ดูเฉลยท้ายเล่ม)
- ครูตรวจสอบความเข้าใจหลักการใช้
Wh-question:
How often โดยให้นักเรียนทำกิจกรรม Language Focus C ในหนังสือเรียน หน้า 6
ครูอ่านคำสั่งแล้วอธิบายว่าให้นักเรียนใช้ข้อมูลจากตารางเวลาการทำกิจกรรมของ Nadine
เติมข้อความลงในบทสนทนาระหว่าง Ming กับ Nadine
- เมื่อนักเรียนทำกิจกรรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ครูเปิดซีดีบันทึกเสียง (CD1,
Track 4) เพื่อให้นักเรียนตรวจสอบคำตอบ
จากนั้นให้นักเรียนที่สมัครใจออกมาเขียนคำตอบบนกระดาน (ดูเฉลยท้ายเล่ม)
- ครูให้นักเรียนจับคู่กับเพื่อนเพื่อสลับกันแสดงบทบาทเป็น
Ming และ Nadine ครูสุ่มนักเรียนออกมานำเสนอการอ่านบทสนทนาที่หน้าชั้นเรียน
(ดูเฉลยท้ายเล่ม)
4. เปรียบเทียบประโยคภาษาอังกฤษกับภาษาไทย
- ครูให้นักเรียนจับคู่กับเพื่อนเพื่อพูดแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ
รวมทั้งอธิบายความเหมือนและความแตกต่างระหว่างการลำดับคำในประโยคคำถามและประโยคบอกเล่าของของภาษาอังกฤษและภาษาไทยตามโครงสร้าง
Simple
Present Tense, like to + verb และ Wh-question: How often โดยให้นักเรียนแต่ละคู่ช่วยกันสรุปข้อมูลเป็นแผนภูมิ
- ครูให้นักเรียนออกมานำเสนอข้อมูลที่หน้าชั้นเรียน
ซึ่งข้อมูลที่นำเสนอสามารถมีได้หลากหลาย
- ครูประเมินความสามารถในการพูดเปรียบเทียบและอธิบายความเหมือนและความแตกต่างระหว่างการลำดับคำตามโครงสร้างประโยคภาษาอังกฤษและภาษาไทยในกิจกรรม
Language
Focus โดยใช้เกณฑ์การประเมินการนำเสนอและใช้เกณฑ์ผ่านระดับพอใช้
กิจกรรม Pronunciation
1.
ออกเสียงคำ
- ครูบอกนักเรียนว่านักเรียนจะได้ฝึกอ่านออกเสียง to แบบลดเสียงในกิจกรรม
Pronunciation A ในหนังสือเรียน หน้า 7
ครูเริ่มต้นโดยให้นักเรียนดูประโยคตัวอย่างที่มี to อยู่ในประโยค
จากนั้นอธิบายให้นักเรียนฟังว่าการพูดภาษาอังกฤษที่เป็นธรรมชาติ
ผู้พูดจะไม่พูดออกเสียงภาษาอังกฤษทีละคำอย่างชัดเจนเพราะบางคำผู้พูดก็ออกเสียงคำนั้นแบบลดเสียงเช่น
to ในประโยคตัวอย่างที่ให้มานี้
- ครูเปิดซีดีบันทึกเสียง
(CD1, Track 5) การออกเสียง “to” ในประโยคจำนวน
2 รอบ รอบแรกครูให้นักเรียนฟังแล้วสังเกตการออกเสียง
“to” ในประโยค
รอบที่ 2 ครูให้นักเรียนฟังแล้วอ่านออกเสียงตาม
- ครูตรวจสอบความสามารถในการฟังการออกเสียง
“to” แบบลดเสียงโดยให้นักเรียนทำกิจกรรม Pronunciation B
ในหนังสือเรียนหน้าเดิม
ซึ่งให้นักเรียนฟังซีดีบันทึกเสียงแล้วเติมข้อความที่ได้ยินลงในช่องว่าง
- ครูให้นักเรียนฟังซีดีบันทึกเสียง
(CD1, Track 6) การจำนวน 3 รอบ
ในรอบแรกครูให้นักเรียนฟังเพื่อจับข้อความที่นักเรียนต้องเติมลงในช่องว่าง
ในรอบที่ 2 ครูให้นักเรียนฟังแล้วเขียนข้อความที่นักเรียนได้ยินลงในช่องว่าง
และในรอบที่ 3 ครูให้นักเรียนฟังเพื่อตรวจสอบคำตอบ
จากนั้นครูให้นักเรียนที่สมัครใจออกมาเขียนคำตอบบนกระดาน (ดูเฉลยท้ายเล่ม)
- ครูตรวจสอบการอ่านออกเสียง
“to” ในประโยค โดยให้นักเรียนจับคู่กับเพื่อนเพื่อทำกิจกรรม Pronunciation C ในหนังสือเรียนหน้าเดิม
ครูอธิบายว่าให้นักเรียนแต่ละคู่สลับกันอ่านออกเสียงประโยค 6 ประโยคในกิจกรรม Pronunciation
B
- เมื่อนักเรียนทำกิจกรรมเสร็จแล้ว
ครูให้นักเรียนออกมานำเสนอการอ่านออกเสียงที่หน้าชั้นเรียน
กิจกรรม Do you know?
- ครูสอบถามนักเรียนเกี่ยวกับกีฬาที่นักเรียนสนใจเล่นดังนี้
What sports do you like to play? และ What do you
know about it?
- ครูอ่านออกเสียงคำถาม
How many
players are there on volleyball team? และตัวเลือกตอบจากกิจกรรม Do
you know? ในหนังสือเรียน หน้า 7
ครูให้นักเรียนเลือกคำตอบโดยใช้การคาดเดา
- ครูเฉลยคำตอบ
ข้อ b ครูอธิบายข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับทีมวอลเล่ย์บอล (ดูข้อมูลด้านวัฒนธรรม)
กิจกรรม Communication
- ครูให้นักเรียนดูตารางในกิจกรรม Communication ในหนังสือเรียน หน้า 7
แล้วถามนักเรียนว่า What is this game? และ How do
you play this game?
- ครูอ่านออกเสียงคำสั่งกิจกรรม
Communication แล้วบอกนักเรียนว่านักเรียนจะได้เล่นเกมบิงโก กลุ่มละ 5 คน
โดยมีกติกาการเล่นดังนี้
1) เมื่อถึงตาเล่นของคนใดคนหนึ่ง
ให้คนนั้นถามคำถามเพื่อนในกลุ่มเกี่ยวกับงานอดิเรกและกิจกรรมที่เขาสนใจทำเป็นงานอดิเรก
2) นักเรียนในกลุ่มตอบคำถามนั้นโดยใช้ข้อมูลที่เป็นจริงของตนเอง
3) เมื่อตอบคำถามเสร็จแล้ว
ให้วางตัวหมากลงในช่องกรอบสี่เหลี่ยมที่ตนเองเลือกตอบ คนใดที่สามารถวางตัวหมากได้ครบแถวก่อนคือผู้ชนะ
- ครูให้นักเรียนเล่นเกมและเดินสำรวจการทำกิจกรรมของนักเรียน
- ครูประเมินความสามารถในการพูดขอและให้ข้อมูลตารางเวลาความถี่ของการทำงานอดิเรกในกิจกรรม
Communication โดยใช้เกณฑ์การประเมินความสามารถในการสนทนาและใช้เกณฑ์ผ่านระดับพอใช้
กิจกรรมเสริมทักษะ/ประสบการณ์ทางภาษา
- ครูให้นักเรียนทำกิจกรรม
Language
Focus A-B ในหนังสือแบบฝึกหัด หน้า 3
บทเรียนย่อยที่ 3 เวลา
2 ชั่วโมง
สิ่งที่นักเรียนเรียนรู้และปฏิบัติได้
1. บอกรายละเอียดของบทความที่อ่านเกี่ยวกับศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวได้
(ต 1.1 ม.2/4, ต 2.1 ม.2/2)
กิจกรรมการเรียนรู้
กิจกรรม Reading
กิจกรรมก่อนอ่าน
1. แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้
-
ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวที่นักเรียนรู้จักโดยให้นักเรียนบอกชื่อ
รูปแบบการต่อสู้และประเทศที่ใช้ศิลปะการต่อสู้นั้น ๆ
-
ครูบอกนักเรียนว่านักเรียนจะได้อ่านบทความเรื่อง
Capoeira: The
Fighting Dance
และเมื่ออ่านแล้วนักเรียนจะต้องสามารถบอกรายละเอียดของเรื่องที่อ่านได้
2. สำรวจภูมิหลังเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
-
ครูถามคำถามเกี่ยวกับ Capoeira
โดยที่ครูยังไม่ให้นักเรียนเปิดหนังสือเรียน ดังนี้ What is
capoeira? ครูเขียนคำตอบของนักเรียนบนกระดาน
- ครูให้นักเรียนเปิดหนังสือเรียน
หน้า 8-9 และให้ดูภาพประกอบบทความเรื่อง Capoeira: The Fighting Dance ครูอ่านข้อความบรรยายภาพในหน้า
8 พร้อมกับให้นักเรียนอ่านตามในใจ แล้วถามนักเรียนอีกครั้งว่า What is
capoeira? ซึ่งนักเรียนน่าจะใช้รูปภาพในการคาดเดาคำตอบว่า A
kind of dance and martial art ครูให้นักเรียนเปรียบเทียบคำตอบบนกระดาน
-
ครูให้นักเรียนดูภาพแผนที่ในหนังสือเรียนหน้าเดิมแล้วถามนักเรียนดังนี้
T: Where is
this?
Ss: Salvador,
Brazil.
T: How does
Capoeira relate to this place?
Ss: Capoeira
is a martial art in Salvador, Brazil.
3. ตั้งจุดประสงค์ในการอ่าน
- ครูให้นักเรียนดูภาพจากหนังสือเรียนหน้าเดิมแล้วใช้คำถามจากกิจกรรม
Reading A ถามนักเรียนเพื่อเป็นการตั้งจุดประสงค์ในการอ่านดังนี้ Who are
these people? และ What are they doing? ครูให้นักเรียนจับคู่กับเพื่อนแล้วบอกคำตอบของกันและกัน
ซึ่งคำตอบสามารถมีได้หลากหลาย
กิจกรรมระหว่างอ่าน
1. อ่านเพื่อตอบคำถามตามจุดประสงค์
- ครูให้นักเรียนฟังซีดีบันทึกเสียง
(CD1, Track 7) การบทความเรื่อง Capoeira: The Fighting Dance แล้วอ่านตามในใจพร้อมกับขีดเส้นใต้คำศัพท์ที่นักเรียนไม่ทราบความหมาย
- ครูให้นักเรียนบอกคำศัพท์ที่นักเรียนไม่ทราบความหมาย
ครูเขียนคำศัพท์ที่นักเรียนบอกบนกระดานแล้วให้นักเรียนที่ทราบความหมายบอกความหมายนั้นแก่เพื่อน
ส่วนคำใดที่ไม่มีนักเรียนคนใดทราบความหมาย
ครูเป็นผู้บอกความหมายของคำเหล่านั้นแก่นักเรียนและให้นักเรียนเขียนคำศัพท์รวมทั้งคำแปลลงในสมุดจดของนักเรียน
จากนั้นครูเขียนคำว่า self-respect
บนกระดานแล้วอธิบายว่า self มีความหมายว่า
ตนเอง คำว่า respect มีความหมายว่า เคารพ ดังนั้นคำว่า self-respect จึงมีความหมายว่า การเคารพตนเอง
- ครูอธิบายโครงสร้างประโยคในบทความให้แก่นักเรียนว่าประธานของประโยคสามารถทำกริยาได้มากกว่า
1 กริยา อีกทั้งจะมีการใช้คำสรรพนามแทนสิ่งที่ได้ถูกกล่าวมาแล้วครั้งหนึ่ง
ครูยกตัวอย่างโดยเขียนประโยคที่นำมาจากบทความบรรทัดที่ 4-5 บนกระดานดังนี้ It finds homes for the
children and helps the children go to school and study. พร้อมกับอธิบายว่าประโยคนี้ประธาน
It ทำกริยา finds และ helps อีกทั้งประโยคนี้มีการใช้ It แทนคำนาม a
special group called Axe Project
ที่ได้ถูกกล่าวมาแล้วก่อนหน้านี้ในบรรทัดที่ 4
- ครูเขียนประโยคต่อไปนี้บนกระดาน A special group called
Axe Project finds homes for the children. The project/It helps the children go
to a school. It helps the children study. แล้วบอกนักเรียนว่านักเรียนสามารถใช้การวิเคราะห์ประโยคเช่นนี้เพื่อสร้างความเข้าใจในการอ่านให้ง่ายยิ่งขึ้น
แต่ผู้เขียนจะไม่นิยมเขียนโดยใช้รูปแบบเช่นนี้
เพราะบทความจะมีรูปประโยคที่ง่ายเกินไป
- ครูบอกนักเรียนว่าผู้เขียนบทความมีวิธีการนำเสนอข้อมูลหลายวิธี
ซึ่งบางครั้งการนำเสนอประโยคที่ยาวก็อาจยากต่อความเข้าใจในการอ่าน
ครูให้นักเรียนอ่าน 2 ประโยคแรกของบทความ
จากนั้นครูรวมประโยคทั้งสองเข้าด้วยกันและเขียนประโยคดังกล่าวบนกระดานดังนี้ In a lot of places around
the world, poor children, called street children, live on the streets because
they do not have homes or parents. จากนั้นถามนักเรียนว่าระหว่างประโยค
2 ประโยคในบทความกับประโยค 1 ประโยคบนกระดาน
นักเรียนคิดว่าวิธีการเขียนแบบใดง่ายต่อความเข้าใจในการอ่าน และนักเรียนชอบแบบใดมากกว่ากัน
รวมทั้งให้นักเรียนบอกเหตุผลสนับสนุนความคิดของนักเรียน โดยครูใช้คำถามถามนักเรียนดังนี้
Which sentence is easier to understand, the one long sentence or the two
sentences? และ Which style do you like better? Why?
- ครูให้นักเรียนจับคู่กับเพื่อนเพื่อช่วยกันอ่านบทความพร้อมกับวงกลมคำสรรพนามและระบุว่า
คำสรรพนามนั้นใช้แทนคำนามใดในบทความ จากนั้นครูให้นักเรียนช่วยกันบอกคำตอบพร้อมกัน
ทั้งชั้นเรียน ซึ่งรายละเอียดมีดังนี้
คำสรรพนามนั้นใช้แทนคำนามใดในบทความ จากนั้นครูให้นักเรียนช่วยกันบอกคำตอบพร้อมกัน
ทั้งชั้นเรียน ซึ่งรายละเอียดมีดังนี้
They บรรทัดที่ 2 เป็นคำสรรพนามใช้แทนคำนาม Street
children
It บรรทัดที่ 4 เป็นคำสรรพนามใช้แทนคำนาม A
special group called Axe Project
Them (1) บรรทัดที่
5 เป็นคำสรรพนามใช้แทนคำนาม
The children
It บรรทัดที่ 5 เป็นคำสรรพนามใช้แทนคำนาม A special
group called Axe Project
them (2) บรรทัดที่
5 เป็นคำสรรพนามใช้แทนคำนาม The
children
He (1) บรรทัดที่
10 เป็นคำสรรพนามใช้แทนคำนาม
Milton dos Santos
It บรรทัดที่ 10 เป็นคำสรรพนามใช้แทนคำนาม Capoeira
He (2) บรรทัดที่
10 เป็นคำสรรพนามใช้แทนคำนาม
Milton dos Santos
- ครูอ่านออกเสียงคำสั่งกิจกรรม Reading B ในหนังสือเรียน หน้า 8 จากนั้นบอกนักเรียนว่านักเรียนจะต้องอ่านบทความเพื่อตรวจสอบคำตอบที่นักเรียนได้ตอบไว้ในกิจกรรม
Reading A
- ครูให้นักเรียนอ่านบทความ
พร้อมกับหาคำตอบของคำถาม 2 ข้อในกิจกรรม Reading A
เมื่อนักเรียนพบคำตอบแล้วครูให้นักเรียนตรวจสอบคำตอบที่นักเรียนได้ตอบไว้ก่อนหน้านี้
- ครูให้นักเรียนที่สมัครใจออกมาเขียนคำตอบบนกระดาน
ซึ่งคำตอบคือ
1) They’re
teenagers in Brazil.
2) They’re
doing capoeira.
- ครูให้นักเรียนฟังซีดีบันทึกเสียงรอบที่
2 ครูหยุดซีดีบันทึกเสียงทุกครั้งที่จบแต่ละย่อหน้า เพื่อให้นักเรียนอ่านตามในใจแล้วตอบคำถามต่อไปนี้ทีละย่อหน้า
คำถามจากบทความย่อหน้าที่ 1
คือ
T: Where do
street children live?
Ss: On
streets.
T: Why do
they live on the streets?
Ss: They don’t
have homes or parents.
คำถามจากบทความย่อหน้าที่ 2 คือ
T: How does the Axe Project help street children?
Ss: It finds
homes for the children and helps them go to school. It also teaches them
capoeira.
T: What
country develops Capoeira?
Ss: Brazil.
คำถามจากบทความย่อหน้าที่ 3 คือ
T: How
do people practice Capoeira?
Ss: People
make a large circle, sing, and play instruments. Two people inside the circle
fight and dance.
คำถามจากบทความย่อหน้าที่ 4 คือ
T: Where does
Milton dos Santos live?
Ss: In
Salvador, Brazil.
T: How old is
Milton?
Ss: Fifteen.
T: Is
Capoeira good for street children? Why or why not?
Ss: Yes, they learn respect and self-respect. It also helps them make
new lives.
- ครูอธิบายข้อมูลเกี่ยวกับ Capoeira,
Street children และ The Axe Project (ดูข้อมูลด้านวัฒนธรรม)
- ครูอ่านออกเสียงคำสั่งกิจกรรม Reading
C ในหนังสือเรียน หน้า 8 ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ให้นักเรียนตอบคำถามเกี่ยวกับบทความเรื่อง
Capoeira: The
Fighting Dance ในหนังสือเรียน หน้า 10
กิจกรรม Comprehension
กิจกรรมหลังอ่าน
1. ตรวจสอบความเข้าใจ
- ครูตรวจสอบความเข้าใจการอ่านบทความเรื่อง
Capoeira: The
Fighting Dance โดยให้นักเรียนทำกิจกรรม Comprehension A ในหนังสือเรียน หน้า 10 เมื่อนักเรียนตอบคำถามเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ครูให้นักเรียนเปรียบเทียบคำตอบกับเพื่อนแล้ว ให้นักเรียนช่วยกันเฉลยคำตอบพร้อมกันทั้งชั้นเรียน (ดูเฉลยท้ายเล่ม)
ครูให้นักเรียนเปรียบเทียบคำตอบกับเพื่อนแล้ว ให้นักเรียนช่วยกันเฉลยคำตอบพร้อมกันทั้งชั้นเรียน (ดูเฉลยท้ายเล่ม)
- ครูตรวจสอบความเข้าใจการอ่านบทความและคำศัพท์ที่พบในบทความโดยให้นักเรียนทำกิจกรรม
Comprehension B ในหนังสือเรียน หน้า 10
เมื่อนักเรียนตอบคำถามเสร็จเรียบร้อยแล้ว ครูให้นักเรียนช่วยกันเฉลยคำตอบพร้อมกันทั้งชั้นเรียน
(ดูเฉลยท้ายเล่ม)
- ครูให้นักเรียนจับคู่กับเพื่อนเพื่อสลับกันอ่านออกเสียงบทความใน
Comprehension
B ที่เติมสมบูรณ์แล้ว
ครูสุ่มให้นักเรียนบางคนอ่านออกเสียงบทความที่หน้าชั้นเรียน
- ครูประเมินความสามารถในการบอกรายละเอียดของบทความที่อ่านเกี่ยวกับศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวในกิจกรรม
Comprehension
A-B จากจำนวนคำตอบที่ตอบถูกต้องและใช้เกณฑ์ผ่านร้อยละ 60
กิจกรรม Do you know?
- ครูให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงข้อความ Taekwondo is a martial
art from____. และตัวเลือกตอบในกิจกรรม
Do you know? ในหนังสือเรียน
หน้า 10 แล้วให้นักเรียนเลือกคำตอบโดยใช้การคาดเดา
- ครูเฉลยคำตอบ
ข้อ b พร้อมกับอธิบายข้อมูลเกี่ยวกับ Taekwondo (ดูข้อมูลด้านวัฒนธรรม)
กิจกรรมเสริมทักษะ/ประสบการณ์ทางภาษา
- ครูให้นักเรียนทำกิจกรรม
Reading A-C ในหนังสือแบบฝึกหัด หน้า 4
บทเรียนย่อยที่ 4 เวลา
3 ชั่วโมง
สิ่งที่นักเรียนเรียนรู้และปฏิบัติได้
1. เขียนอีเมลบรรยายงานอดิเรกและกิจกรรมที่ตนเองสนใจทำได้
(ต 1.2 ม.2/4)
2. พูดขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับกราฟข้อมูลกิจกรรมที่สนใจทำเป็นงานอดิเรกได้
(ต 1.1 ม.2/3, ต 1.2 ม.2/4, ต 4.1 ม.2/1)
กิจกรรมการเรียนรู้
กิจกรรม Writing
กิจกรรมก่อนเขียน
- ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบว่าหลังจากที่นักเรียนเรียนจบบทเรียนนี้แล้ว
นักเรียนจะต้องสามารถเขียนอีเมลถึงเพื่อนเพื่อบรรยายงานอดิเรกและกิจกรรมที่ตนเองสนใจทำได้
อีกทั้งยังต้องสามารถพูดขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับกราฟข้อมูลกิจกรรมที่สนใจทำเป็นงานอดิเรกได้
- ครูให้นักเรียนจับคู่กับเพื่อนและอ่านอีเมลในกิจกรรม
Writing ในหนังสือเรียน หน้า 10 แล้วถามนักเรียนดังนี้
T: Who
is the writer?
Ss: Amy.
T: Who is the
receiver?
Ss: Sophia.
T: What is
the subject of the e-mail?
Ss: My
hobbies.
-
ครูอ่านออกเสียงคำสั่งกิจกรรม Writing ในหนังสือเรียน
หน้า 11 แล้วครูสรุปให้นักเรียนฟังว่านักเรียนจะได้อ่านอีเมลของ Amy ซึ่งเขียนถึง Sophia เกี่ยวกับงานอดิเรกที่
Amy สนใจทำ จากนั้นให้นักเรียนเขียนตอบอีเมลฉบับนี้โดยใช้ข้อมูลเกี่ยวกับงานอดิเรกและกิจกรรมที่ตนเองสนใจทำ
- ครูเขียนคำว่า
e-pal บนกระดาน แล้วอธิบายว่า e-pal หมายถึง
เพื่อนทางอีเมล ซึ่งบุคคลทั้งสองคนจะเขียนอีเมลถึงกันเป็นงานอดิเรก
โดยปกติแล้วทั้งสองจะไม่เคยพบกัน นอกจากติดต่อกันทางอีเมล
- ครูอ่านอีเมลให้นักเรียนฟัง
1 รอบ เพื่อให้นักเรียนสำรวจและขีดเส้นใต้คำศัพท์ที่นักเรียนไม่ทราบความหมาย
จากนั้นให้นักเรียนบอกคำศัพท์เหล่านั้น
ครูเขียนคำศัพท์ที่นักเรียนบอกบนกระดานและให้นักเรียนที่ทราบความหมายของคำศัพท์ดังกล่าวบอกความหมายนั้นแก่เพื่อน
ส่วนคำใดที่ไม่มีนักเรียนคนใดทราบความหมายแล้ว
ครูให้นักเรียนเปิดหาความหมายจากพจนานุกรม
- ครูให้นักเรียนดูคำขึ้นต้นและคำลงท้ายอีเมล
แล้วถามนักเรียนว่า
T: Is the
email formal or informal? Why?
Ss: It is
Informal. Amy used the word “Hi” in the email.
- ครูให้นักเรียนอ่านอีเมลย่อหน้าแรกแล้วถามนักเรียนดังนี้
T: What is
the first paragraph about?
Ss: Amy’s
personal information.
T: What are
the writer’s hobbies?
Ss: Music and
Martial arts.
- ครูให้นักเรียนอ่านอีเมลย่อหน้าที่สองแล้วถามนักเรียนดังนี้
T: What is
the second paragraph about?
Ss: Playing
the guitar as her hobby.
T: What
instrument does she play?
Ss: The
guitar.
T: When does
she play the guitar?
Ss: After
school.
T: Who play
the instrument with her?
Ss: Her friends.
- ครูให้นักเรียนอ่านอีเมลย่อหน้าที่สามแล้วถามนักเรียนดังนี้
T: What is
the third paragraph about?
Ss: Doing
taekwondo as her hobby.
T: What type
of martial arts does she practice?
Ss: Taekwondo.
T: Who practice
taekwondo with her?
Ss: Her
brother.
- ครูอธิบายว่าอีเมลฉบับนี้เป็นการเขียนแบบไม่เป็นทางการ
โดยย่อหน้าแรกของอีเมล Amy จะแนะนำข้อมูลของตนเองและงานอดิเรก
2 งานคือการเล่นดนตรีและการฝึกศิลปะการต่อสู้ ส่วนย่อหน้าที่สอง Amy ได้ขยายความงานอดิเรกแรกของเขาคือการเล่นดนตรี ส่วนย่อหน้าที่สาม
Amy ได้ขยายความงานอดิเรกที่สองของเขาคือศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว
ครูให้นักเรียนสังเกตว่าทุกย่อหน้าของอีเมล Amy จะเขียนถามข้อมูล
Sophia เสมอ
- ครูเขียนคำถามต่อไปนี้บนกระดาน
1) Why does
Amy write the email to Sophia?
2) What does
Amy expect from Sophia?
- ครูให้นักเรียนอ่านอีเมลอีกครั้งเพื่อตอบคำถาม
2 ข้อนี้ เมื่อนักเรียนตอบคำถามเสร็จเรียบร้อยแล้ว ครูให้นักเรียนช่วยกันบอกคำตอบ
ซึ่งคำตอบคือ
1) Because Amy wants to be Sophia’s new e-pal.
2) She
expects Sophia to reply the email.
- ครูให้นักเรียนช่วยกันบอกคำศัพท์เกี่ยวกับกิจกรรมการทำงานอดิเรกเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเขียน อีเมลของตนเอง
ครูเขียนคำศัพท์ที่นักเรียนบอกบนกระดาน
กิจกรรมการเขียน
- ครูกำหนดให้นักเรียนเขียนอีเมลจำนวนสามย่อหน้าโดยใช้อีเมลที่ให้มาในกิจกรรม
Writing เป็นแนวทางในการเขียนของตนเอง
- ครูให้นักเรียนตรวจแก้งานเขียนฉบับร่างและเขียนใหม่อีกครั้งหนึ่ง
ครูเก็บรวบรวมงานเขียนของนักเรียนไปตรวจ
กิจกรรมหลังเขียน
- ครูประเมินความสามารถในการเขียนอีเมลบรรยายงานอดิเรกและกิจกรรมที่ตนเองสนใจทำในกิจกรรม
Writing
โดยใช้เกณฑ์การประเมินการเขียนจดหมาย/อีเมลส่วนตัวและใช้เกณฑ์ผ่านระดับพอใช้
- ครูคืนงานที่ตรวจแก้ไขเรียบร้อยแล้วให้แก่นักเรียน
และให้นักเรียนจับคู่กับเพื่อนเพื่อสลับกันอ่านอีเมล
ของกันและกัน ครูเดินสำรวจการทำกิจกรรมของนักเรียน
- ครูสุ่มนักเรียนออกมาอ่านอีเมลของตนเองที่หน้าชั้นเรียน
กิจกรรม The Real World
1.
สำรวจงานอดิเรกและกิจกรรมที่สนใจทำ
- ครูให้นักเรียนเปิดหนังสือเรียน
หน้า 11 แล้วอ่านออกเสียงประโยคคำถามของ Stig ในกิจกรรม The
Real World ที่ถามว่า What can these kids do? และให้นักเรียนอ่านตามในใจ
- ครูให้นักเรียนดูภาพ
2 ภาพทางคอลัมน์ด้านขวา แล้วให้นักเรียนคาดเดาคำตอบที่ Stig ถามโดยที่ครูให้นักเรียนปิดส่วนของข้อความไว้
ครูเขียนคำตอบของนักเรียนบนกระดาน
- ครูอ่านออกเสียงข้อความบรรยายภาพของ
Kenneth Evans
และ Patricio Lawson พร้อมกับให้นักเรียนอ่านตามในใจ
และตรวจสอบความถูกต้องของคำตอบบนกระดาน ซึ่งคำตอบคือ Kenneth Evans can jump about 2.2 meters. และ Patricio
Lawson can make cartoons.
- ครูถามคำถามเกี่ยวกับบุคคลทั้งสองต่อไปดังนี้
T: Why
is Kenneth’s jump unusual?
Ss: He jumps from his left foot.
T: What
makes Patricio Lawson different from other teenagers?
Ss: Other
teenagers like to watch movies but he likes to make them.
- ครูอ่านออกเสียงข้อความทางคอลัมน์ด้านซ้ายพร้อมกับให้นักเรียนอ่านตามในใจ
เมื่อครูอ่านจบแล้วครูอธิบายว่า Poll คือ
การสำรวจเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ความคิดเห็น
และความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบของผู้ที่ถูกสำรวจ ครูยกตัวอย่างวิธีการทำ Poll โดยถามนักเรียนว่า Do you like ice cream? ครูให้นักเรียนที่ชอบ
ice cream ยกมือ ครูนับจำนวนนักเรียนที่ยกมือและเขียนจำนวนตัวเลขของนักเรียนที่ยกมือบนกระดาน
และสรุปให้นักเรียนฟังว่าตัวเลขบนกระดานนี้คือข้อมูลของจำนวนนักเรียนทั้งหมดที่ชอบ
ice cream
- ครูให้นักเรียนจับกลุ่ม
กลุ่มละ 5 คน เพื่อทำกิจกรรม The Real World A
ในหนังสือเรียน หน้า 11
- ครูอ่านออกเสียงคำสั่ง
จากนั้นอธิบายว่านักเรียนจะได้สัมภาษณ์เพื่อนในกลุ่มเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลกิจกรรมที่สมาชิกในกลุ่มสนใจทำ
แล้วให้นำข้อมูลที่ได้มาสรุปผลเป็นกราฟข้อมูล
- ก่อนให้นักเรียนทำกิจกรรมครูอธิบายการทำกราฟข้อมูลโดยให้นักเรียนดูกราฟข้อมูลในหนังสือเรียนหน้าเดิม
แล้วให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงคำถามที่อยู่ด้านบนของกราฟ
จากนั้นครูสรุปให้นักเรียนฟังดังนี้
จากกราฟหัวข้อ Are you a sports fan? นักเรียนสามารถใช้คำถามข้อนี้สำรวจข้อมูลว่าเพื่อนของนักเรียนในกลุ่มเป็นแฟนกีฬาหรือไม่
ซึ่งคำตอบอาจมีได้ทั้งเป็นและไม่เป็นแฟนกีฬา นักเรียนจึงสามารถสรุปข้อมูลเป็นตัวเลขได้
2 ข้อมูล คือจำนวนสมาชิกทั้งหมดในกลุ่มที่เป็นแฟนกีฬาซึ่งตอบ Yes และจำนวนสมาชิกในกลุ่มทั้งหมดที่ไม่เป็นแฟนกีฬาซึ่งตอบ No จากนั้นให้นักเรียนนำข้อมูลที่ได้มานำเสนอเป็นกราฟข้อมูลสถิติต่อไป
ครูอธิบายกราฟที่เหลือให้แก่นักเรียน
- ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรม
The Real World A ครูเดินสำรวจการทำกิจกรรมของนักเรียน
เมื่อนักเรียนทำกิจกรรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ครูอ่านออกเสียงคำสั่งกิจกรรม
The Real World B ในหนังสือเรียน หน้า 11
ซึ่งเป็นกิจกรรมให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเปรียบเทียบกราฟข้อมูลซึ่งเป็นผลการสำรวจที่ได้จากกิจกรรม
The Real World A กับเพื่อนกลุ่มอื่น
- ครูอ่านออกเสียงประโยคคำถาม
How many
people are sports fan? ในกรอบคำพูดของกิจกรรม The Real
World B
และให้นักเรียนแต่ละกลุ่มตอบคำถามข้อนี้โดยใช้ข้อมูลจากผลการสำรวจของกลุ่มตน
จากนั้นให้นักเรียนช่วยกันคิดประโยคคำถามที่จะนำไปใช้ในการพูดถามข้อมูลกราฟสถิติของเพื่อนต่างกลุ่ม
ครูเขียนคำถามที่นักเรียนบอกบนกระดาน เช่น
How many people like to play sports?
How many people like to watch sports?
How many people like soccer?
- ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำกิจกรรม The Real World B ครูเดินสำรวจการทำกิจกรรมของนักเรียน
- ครูประเมินความสามารถในการพูดขอและให้ข้อมูลเกี่ยวกับกราฟข้อมูลกิจกรรมที่สนใจทำเป็นงานอดิเรกในกิจกรรม
The Real
World B โดยใช้เกณฑ์การประเมินความสามารถในการสนทนาและใช้เกณฑ์ผ่านระดับพอใช้
2. สำนวน
- ครูให้นักเรียนคนหนึ่งอ่านออกเสียงสำนวน “He has two left feet.” และตัวเลือกตอบในกรอบ Idiom ในหนังสือเรียน หน้า 11
แล้วให้นักเรียนเลือกคำตอบจากการคาดเดา จากนั้นครูเฉลยคำตอบ ข้อ c
- ครูอธิบายสำนวน “He
has two left feet.” ว่าสำนวนนี้ใช้ในสถานการณ์ที่พูดถึงบุคคลหนึ่งซึ่งไม่สามารถเต้นรำได้
ครูยกตัวอย่างโดยเขียนบทสนทนาบนกระดานดังนี้
A: Are you
going to the school dance with John?
B: No way! He
has two left feet.
ครูอธิบายต่อไปว่าสำนวน “He has two left feet.” สามารถใช้ในสถานการณ์ที่พูดถึงบุคคลซึ่งมีความงุ่มง่ามหรือซุ่มซ่ามได้เช่นกัน
ครูยกตัวอย่างโดยเขียนบทสนทนาบนกระดานดังนี้
A: Have you
ever tried skiing?
B: Well, I
tried it once, but I was really bad at it. The instructor said I had two left
feet.
ครูอ่านออกเสียงบทสนทนาบนกระดานและให้นักเรียนอ่านออกเสียงตาม
จากนั้นให้นักเรียนจับคู่กับเพื่อนแล้วพูดโต้ตอบตามบทสนทนาบนกระดาน
กิจกรรมเสริมทักษะ/ประสบการณ์ทางภาษา
- ครูให้นักเรียนทำกิจกรรม Writing A-C
ในหนังสือแบบฝึกหัด หน้า 5
นักเรียนประเมินตนเอง
- นักเรียนทำแบบประเมิน Self-Evaluation
เพื่อประเมินตนเองเกี่ยวกับเนื้อหาที่ได้เรียนไปแล้ว (แบบประเมิน Unit 1
Self-Evaluation ท้ายเล่ม)
- ครูให้นักเรียนทำ
Unit Test, Unit 1
สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
1. หนังสือเรียน Time Zones 2
หน้า 4-11
2. หนังสือแบบฝึกหัด Time Zones
2 หน้า 2-5
3. ซีดีบันทึกเสียง
4. เครื่องเล่นซีดี
5. สื่ออิเล็กทรอนิกส์
- http://en.wikipedia.org/wiki/Capoeira
- http://en.wikipedia.org/wiki/taekwondo
การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดการเรียนรู้
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
ชื่อหน่วย What do you like to do?
3 ห่วง
พอเพียง
ประเด็น
|
ความพอประมาณ
|
ความมีเหตุผล
|
การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
|
1. เนื้อหา
|
กำหนดเนื้อหาได้สอดคล้องกับมาตรฐานตัวชี้วัด
และเหมาะสมกับเวลา วัย ความสามารถของนักเรียน
|
เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ตรงตามมาตรฐานและตัวชี้วัด
ครบถ้วนตามกระบวนการ
|
-ลำดับเนื้อหาจากง่ายไปหายาก
เพื่อให้นักเรียนเข้าใจง่าย
-เตรียมเนื้อหาในการเรียนรู้ให้ครอบคลุมตามมาตรฐานและตัวชี้วัด
|
2.เวลา
|
กำหนดเวลาได้เหมาะสมกับเนื้อหา
และกิจกรรมการเรียนรู้
|
-เพื่อให้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ครบถ้วนตามที่กำหนด
-ส่งเสริมให้นักเรียนทำกิจกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ
|
-มีการจัดสรรเวลาเพิ่มสำหรับนักเรียนที่ไม่สามารถปฏิบัติกิจกรรมได้ตามขั้นตอน
|
3.การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
|
ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ได้เหมาะสมสำหรับการพานักเรียนสู่เป้าหมาย
|
เพื่อให้นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานและตัวชี้วัด
|
เตรียมกิจกรรมเพื่อรองรับปัญหา
|
4.สื่อ/แหล่งเรียนรู้
|
เลือกสื่อและแหล่งเรียนรู้ได้เหมาะสมกับกิจกรรม
และความสนใจของนักเรียน
|
-ส่งเสริมให้นักเรียนเข้าใจในบทเรียนได้ง่าย
-ส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน
|
กำหนดข้อตกลงในการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้
|
5. การวัดและประเมินผล
|
ออกแบบการวัดผลที่เหมาะสมและเที่ยงตรง
|
เพื่อประเมินนักเรียนให้ได้ผลตรงตามที่ต้องการรู้และได้ผลที่ตรง
|
มีเกณฑ์การวัดผลประเมินที่ชัดแจน
|
ความรู้
|
-มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
-การคัดเลือกเนื้อหาที่จะสอน
-การค้นหาข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ
-การวัดผลและประเมินผล
|
||
คุณธรรม
|
-ความเพียรพยายาม
-ความอดทน
-ความเสียสละ
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น